ข้อผิดพลาด 10 ประการที่แม่ทั้งหลายมักทำ

เขียนโดย 

ความผิดพลาด... อาจเป็นบทเรียนที่ดีที่สุดของชีวิตแต่สำหรับการเลี้ยงดูเจ้าตัวน้อยแล้ว ยิ่งผิดพลาดน้อยที่สุดก็ยิ่งดี เพราะการผิดพลาดแต่ละครั้งอาจทำให้เจ้าตัวน้อยป่วยกาย หรือแย่ไปกว่านั้นอาจป่วยใจในระยะยาวได้ การเลี้ยงดูลูก โดยเฉพาะในช่วงขอบปีแรกของชีวิต มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการวางพื้นฐานทางอารมณ์ให้กับลูกต่อไปในอนาคต


1. ไม่ยอมกล่าวคำขอโทษ

อย่ากลัวหรืออายที่จะกล่าวคำขอโทษกับลูกของคุณในสิ่งที่คุณได้ทำผิดไปการที่พวกเขาได้เห็นว่าคุณก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งและเต็มใจที่จะยอมรับความไม่สมบูรณ์แบบของตัวเองนั้น เป็นหนึ่งในบทเรียนที่ยิ่งใหญ่ที่คุณสามารถให้กับลูกคุณได้


2. ไม่ยอมรับเมื่อคุณผิด
นี่ต่างจากการขอโทษที่บางครั้งคุณอาจไม่ได้มีการทำผิด คุณอาจเพียงแค่ผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือมีการสื่อสารที่ผิดพลาด อย่าพยายามที่จะปกปิด อย่าหาข้อแก้ตัว เพียงแค่รับผิดและกล่าวคำขอโทษกับลูกของคุณ


3. ตามใจลูกเกินไป
อย่าตามใจลูกของคุณโดยการให้สิ่งของต่าง ๆ มากจนเกินไป สิ่งของนั้นไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาโหยหาที่แท้จริง จริง ๆ แล้วพวกเขาต้องการเวลาจากคุณ ต้องการความรักและการเอาใจใส่ การให้ของเล่นกับเขามากเกินไปจะทำให้เขาเสียคนและเขาจะรู้สึกว่าสิ่งต่าง ๆ นั้นได้มาอย่างง่ายดาย


4. เปรียบเทียบลูก
อย่าเปรียบเทียบลูกกับลูกของตนคนอื่น ๆ หรือกับเด็กคนอื่น….เพราะมันไม่ดีเลย! คำพูดบางคำอย่างเช่น “ทำไมลูกไม่เป็นอย่าง….” หรือ “ลูกทำตัวเหมือน….” เป็นคำพูดที่ทำให้เจ็บช้ำและไม่ยุติธรรมกับเด็ก แต่หากคุณพลาดพลั้งเผลอพูดออกไป คุณจำเป็นต้องขอโทษและเรียกความภาคภูมิใจในตนเองของพวกเขากลับมาอีกครั้งโดยการชื่นชมในสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์หรือมีความโดดเด่นในตัวของพวกเขา


5. ใส่อารมณ์ที่หงุดหงิดกับลูก
หากคุณประสบกับปัญหาและวันนั้นเป็นวันที่แย่มากสำหรับคุณ หรือคุณมีปัญหาในชีวิตแต่งงานของคุณ เด็กไม่ได้เป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบปัญหาเหล่านั้น ถึงแม้ว่าอาจมีพฤติกรรมบางอย่างที่เป็นเหตุให้วันนั้นเป็นวันที่แย่สำหรับคุณ คุณจำเป็นต้องระลึกไว้เสมอว่าใครเป็นผู้ใหญ่ในเหตุการณ์นั้น ๆ (คุณนั่นเอง) และคุณจะต้องระงับอารมณ์ให้เย็นลง แต่หากคุณสูญเสียการควบคุมตัวเอง จงกล่าวคำขอโทษ ให้เวลากับตัวคุณเองเพื่อที่จะดึงตัวเองกลับมาและก้าวต่อไป บอกกับลูกของคุณในสิ่งที่คุณทำว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้สำหรับตัวคุณเองและลูก ๆ ของคุณ และหาคำหรือประโยคที่เป็นรหัสที่จะใช้บอกเมื่อคุณรู้สึกเช่นนี้อีกครั้ง ใช้เพื่อเป็นสัญญาณเตือนลูก ๆ ของคุณว่าคุณรู้สึกเช่นนี้และคุณต้องการเวลาสักพักสำหรับตัวคุณเอง


6. คาดหวังมากจนเกินไป
คุณไม่สามารถคาดหวังในตัวลูกของคุณว่าพวกเขาจะสามารถทำเช่นเดียวกับคุณได้ มือพวกเขาไม่ใหญ่พอ ความสามารถในการร่วมมือของพวกเขายังไม่พัฒนาเท่าที่ควร และพวกเขายังไม่เข้าใจในทุกเรื่องด้วย และคุณจะไม่คาดหวังว่าลูกของคุณจะรู้วิธีการจัดการบางอย่างได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เว้นแต่คุณจะสอนพวกเขาในแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด นอกจากนี้ “การดูเพื่อเรียนรู้” เป็นวิธีการที่ไม่เป็นผลเมื่อใช้กับเด็ก ๆ พวกเขาจะเกิดความเบื่อหน่ายในการดูและจะไม่เกิดการเรียนรู้ แต่การที่คุณให้พวกเขาได้ทำไปกับคุณ พวกเขาจะสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น


7. ปิดบังบางสิ่งกับคู่สามีหรือภรรยา
อย่าปิดบังบางสิ่งกับคู่สามีหรือภรรยาของคุณ หรือขอร้องให้ลูกช่วยปกปิดความลับด้วย: การที่ให้เด็กมีส่วนร่วมใน “เรื่องของปัญหาชีวิตคู่” เป็นสิ่งผิดและอาจนำไปสู่การจบลงของชีวิตคู่ของคุณได้ หากคุณกำลังทำเช่นนี้อยู่…จงหยุด!!!!!……คุณจะคาดหวังให้ลูกของคุณไม่โกหก ไม่โกง หรือเคารพผู้อื่นได้อย่างไรหากพวกเขาเห็นคุณทำเช่นนั้น?


8. ทำให้ลูกของคุณรู้สึกอาย
อย่าทำให้ลูกของคุณรู้สึกอาย (โดยที่คุณตั้งใจ) การทำให้ลูกของคุณรู้สึกขายหน้าหรือรู้สึกอายเป็นการทำลายความมั่นใจของพวกเขา สิ่งที่คุณพูดในวันนี้อาจนำไปสู่การปัญหาในการรับประทานอาหาร การต่อต้านตนเอง การติดสิ่งต่าง ๆ และปัญหาความสัมพันธ์ในอนาคต อย่าสอนวินัยให้กับลูกของคุณต่อหน้าเพื่อน ๆ ของเขา (เอาเขาออกมาจากสถานการณ์ดีกว่าขจัดมันไปหรือให้มันเป็นไป) อย่าวิจารณ์น้ำหนักพวกเขา แต่ให้เปลี่ยนอาหารที่พวกเขารับประทาน อย่าพูดเกี่ยวกับสิ่งที่จะบั่นทอนความมั่นใจของเขา เช่น การปัสสาวะรดที่นอน การทำนมหก ต่อหน้าเพื่อนของเขาหรือเพื่อนของคุณ หากพวกเขาอยากบอกให้คนอื่นรู้ เขาจะบอกเอง คุณเองก็ไม่ต้องการให้เขาบอกคนอื่นว่าคุณผายลมในโรงหนังเช่นกันใช่หรือไม่?


9. ประเมินอิทธิพลการใช้ภาษาร่างกายต่ำจนเกินไป
การไขว้แขน การเคาะนิ้ว การมองไปทางอื่น การรับโทรศัพท์ การเดินออกไปจากห้อง และการกระทำอื่น ๆ ที่แสดงความไม่สนใจของคุณ เหล่านี้จะส่งข้อความถึงลูก ๆ ของคุณว่าพวกเขาไม่มีความสำคัญเพียงพอที่คุณจะรับฟังพวกเขา คุณควรให้ความใส่ใจพวกเขาอย่างเต็มที่และบอกให้พวกเขารู้ว่าคุณโชคดีแค่ไหนที่ลูก ๆ พูดคุยกับคุณ รับฟังในสิ่งที่เด็ก ๆ วัยก่อนเข้าโรงเรียนพูดกับคุณจะช่วยเปิดโลกของความเป็นวัยรุ่นของคุณ เหมือนกับคุณได้รับสิทธิพิเศษในการรับฟัง


10. ให้ความสำคัญกับเรื่องเล็ก ๆ มากเกินไป
การให้ความสำคัญกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ มากเกินไปนั้นจะบั่นทอนความน่าเกรงขามของคุณในเวลาที่คุณจำเป็นต้องใช้มัน ถามตัวคุณเองว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นหรือพฤติกรรมของพวกเขานั้น จะยังมีผลไปเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนหรือไม่ แต่การได้เป็นพ่อแม่คนนั้นเป็นสิ่งประเสริฐสำหรับทั้งตัวคุณและลูกเช่นกัน

อย่าเข้มงวดกับตัวคุณเองมากเกินไป คุณควรมีพื้นที่ว่างให้ตัวคุณเองได้เป็นคนไม่สมบูรณ์แบบบ้าง ลูก ๆ ของคุณรู้ว่าคุณไม่ได้สมบูรณ์แบบ แต่สิ่งที่สำคัญที่พวกเขาอยากเห็นนั่นคือคุณก็ทราบถึงสิ่งนี้เช่นกัน อย่าเสียโอกาสในการแสดงให้พวกเขาได้รู้ในสิ่งนี้ ไม่มีสิ่งใดมีความหมายกับคุณมากไปกว่าการให้ความรักและการอบรมให้พวกเขาโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้

ที่มา www.bloggang.com