มหัศจรรย์ สาบเสือ เป็นทั้งวัชพืชและยา

เขียนโดย 


เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่หาง่าย จัดว่าเป็นวัชพืชที่มีสรรพคุณทางยาที่ใช้ประโยชน์ได้ดี เราใช้ "ต้นสาบเสือ" เป็นดรรชนีชี้วัดอุณหภูมิความแห้งแล้งของอากาศ เพราะหากอากาศไม่แล้งต้นสาบเสือก็จะไม่ออกดอก สาเหตุที่ได้ชื่อว่า สาบเสือ ก็เพราะว่าดอกของมันไม่มีกลิ่นหอมเลย แต่กลับมีกลิ่นสาบ คนโบราณเวลาหนีสัตว์ร้ายอื่นเข้าดงสาบเสือจะปลอดภัย เพราะสัตว์อื่นนั้นจะไม่ได้กลิ่นคน

ลำต้นและกิ่งก้านปกคลุม ด้วยขนอ่อนนุ่ม ก้านและใบเมื่อขยี้จะมีกลิ่นแรงคล้าย สาบเสือ สูง 1-2 เมตร ใบเดี่ยวออกจากลำต้น ที่ข้อ แบบตรงกันข้าม รูปรีค่อนข้างเป็นสามเหลี่ยมขอบใบ หยัก ปลายใบแหลม ฐานใบกว้าง เรียวสอบเข้าหากัน สีเขียวอ่อน เส้นใบเห็นชัดเจน 3 เส้น มีขนปกคลุม ผิวใบทั้งสองด้าน ดอกเป็นช่อ สีขาวหรือฟ้าอมม่วง ดอกย่อย 10-35 ดอก ดอกวงนอกบานก่อน กลีบดอก หลอมรวมกันเป็นหลอด ผลขนาดเล็ก รูปร่างเป็น ห้า เหลี่ยมสีน้ำตาลหรือดำ มีหนามแข็งบนเส้นของผล ส่วน ปลายผลมีขนสีขาว

สาบเสือในแต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่นช้ าผักคราด ไช้ปู่กอ ชิโพกวย เซโพกวย บ่อโส่ บ้านร้าง เบญจมาศ ผักคราด ผักคราด บ้านร้าง ฝรั่งรุกที่ ฝรั่งเหาะ พาทั้ง คนเพชรบูรณ์เรียกต้นมนทน บ้างก็เรียกมุ้งกระต่าย ยี่สุ่นเถื่อน รำเคย เส้โพกวย หญ้าค่าพั้ง หญ้าดงร้าง หญ้าดอกขาว หญ้าฝรั่งเศส หญ้าพระศิริไอยสวรรค์ หญ้าเมืองวาย หญ้าเมืองฮ้าง หญ้าลืมเมือง หญ้าเลาฮ้าง หญ้าเหม็น หนองเส้งเปรง หมาหลง หญ้าเสือหมอบ ฝรั่งเหาะ ฝรั่งรุกที่ หญ้าครกขาว หญ้าเมืองงาย

สรรพคุณของสาบเสือ

-สาบเสือ สรรพคุณช่วยชูกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย (ดอก)
-ช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก)
-ใบสาบเสือ สรรพคุณช่วยแก้ตาฟาง ตาแฉะ (ใบ)
-ช่วยแก้กระหายน้ำ (ดอก)
-สรรพคุณของสาบเสือ ดอกช่วยแก้ไข้ (ดอก)
-รากสาบเสือใช้ผสมกับรากมะนาวและรากย่านาง นำมาต้มเป็นน้ำดื่ม ช่วยรักษาไข้ป่าได้ (ราก)
-ดอกใช้เป็นยาแก้ร้อนใน (ดอก)
-ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง อาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อ (ต้น)
-รากสาบเสือ นำมาใช้ต้มเป็นน้ำดื่มช่วยแก้โรคกระเพาะได้ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ใบ)
-ใบนำมาใช้ต้มอาบช่วยแก้ตัวบวมได้ (ใบ)
-สรรพคุณสาบเสือ ช่วยแก้บวม (ต้น)
-ช่วยดูดหนอง (ต้น)
-สารสกัด จากกิ่งและใบมีสารที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Bacillus subtilis ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดหนอง (ใบ)
-สรรพคุณของใบสาบเสือ ช่วยแก้พิษน้ำเหลือง (ใบ)
-ช่วยถอนพิษแก้อักเสบ (ใบ)ใบ
-ใช้ในการห้ามเลือด ด้วยการใช้ใบนำมาโขลกและขยี้ แล้วนำมาพอกบริเวณบาดแผล ก็จะช่วยห้ามเลือดได้เป็นอย่างดี เพราะสาบเสือมีสารสำคัญหลายอย่างที่มีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดหดตัว และไปช่วยกระตุ้นสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวได้เร็วยิ่งขึ้น แต่อาจจะแสบมากๆ แต่เมื่อแผลหายแล้ว จะช่วยป้องกันแผลเป็นได้อีกด้วย (ใบ)
-ใช้สมานแผล ช่วยป้องกันการเกิดรอยแผลเป็น (ใบ)
-ช่วยรักษาแผลเปื่อย (ใบ)
-ทั้งต้นของสาบเสือ ใช้เป็นแก้บาดทะยัก (ทั้งต้น)
-ใบสาบเสือ มีสารที่ช่วยยับยั้งการงอกและชะลอการเจริญเติบโตของพืชอื่นๆ (ใบ)

ประโยชน์ของสาบเสือ

ประโยชน์ใบสาบเสือ ช่วยแก้ผมหงอก ทำให้ผมดกดำ ด้วยการใช้ใบสาบเสือนำมาตำแล้วใช้หมักผมเป็นประจำ ไม่นานจะทำทำให้เส้นผมดูดกดำขึ้น (ใบ)ประโยชน์ของใบสาบเสือ ใบสาบเสือมีฤทธิ์ในการกำจัดปลวก ไล่แมลง ฆ่าแมลงได้ (ใบ)ทั้ง ต้นและใบสามารถนำมาใช้ในการบำบัดน้ำเน่าเสียได้ ด้วยการเอาทั้งต้นและใบใส่ลงไปแช่ในบ่อน้ำเน่า เมื่อผ่าน 2-3 สัปดาห์น้ำจะค่อยๆใสขึ้นเอง (ต้น,ใบ)ต้นสาบเสือมีกลิ่นแรง การใช้ในปริมาณมากนอกจากจะนำไปใช้ทำเป็นยาฆ่าแมลงแล้ว การใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถนำใช้เป็นน้ำหอมได้ดีอีกด้วย (ทั้งต้น)นอกจากนี้เรายังใช้ต้นสาบเสือเป็นตัวชี้วัดอุณหภูมิความแห้งแล้งของอากาศ ถ้าหากอากาศไม่แล้งต้นสาบเสือก็จะไม่ออกดอกนั่นเอง

ประโยชน์ทางยา

ก้านและใบ รสสุขุม ฉุนเล็กน้อย ใช้ฆ่าแมลง ห้ามเลือดแก้แผลที่แมลงบางชนิดกัดแล้วเลือดไหลไม่หยุด ใช้ใบสดตำพอกปากแผล หรือ อาจใช้ใบสดตำกับปูนกินหมากพอกแผลห้ามเลือดได้หรือใช้ใบสดขยี้ปิดปากแผลเลือดออกเล็กน้อยได้ดี

สำหรับคนเป็นโรคริดสีดวงทวารหนัก ความรู้แบบบ้านๆสำหรับคนที่เป็นอยู่ต้นสาบเสือไช้ใบตำให้ ละเอียดก่อนนอนสอดตรงก้นใว้จนเช้ามันจะยุบไปเองงดของหมักดองขนมจีนลองทำดู

สีสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคพืชแอนแทรคโนสของพืชตระกูลSolanaceae พวกพริก มะเขือ และของมะม่วง ใบมะม่วงที่เป็นเชื้อราดำ ดำ กำจัดได้ ไล่แมลงพวกปากดูด พวกเพลี้ยจั๊กจั่นช่อมะม่วง เพลี้ยไฟในพริก ในกุหลาบ สามารถนำมาใช้เป็นน้ำยาถูพืชทำให้ใช้ไล่แมลงคลาน เช่น แมลงสาบ มด กำจักไรฝุ่นตามพื้นในบ้าน เช็ดตามตู้โต๊ะ เก้าอี้ เฟอร์นิเจอร์ แล้วป้องกันเชื้อรามาเกาะได้

แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์กรมวิชาการเกษตร, เว็บไซต์อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล, ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), เว็บไซต์สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), www.สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5

 

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ วัน, วันที่ เดือน ปี ชม:นาที