5 หนทางกู้โลก

เขียนโดย 

ท่ามกลางความเวิ้งว้างว่างเปล่าอันไร้ขอบเขต ท่ามกลางความอ้างว้างอย่างไร้ขีดจำกัดของเอกภพ ยังมี ดาวเคราะห์สีน้ำเงินดวงหนึ่ง ดวงเดียวที่ให้กำเนิดชีวิต ความรัก มิตรภาพ อารยธรรม และความหมายของการดำรงอยู่ แต่ขณะนี้ดาวเคราะห์สีน้ำเงินดวงนี้ กำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ซึ่งเรียกว่าภาวะโลกร้อน

ภาวะโลกร้อน คือ การที่ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากภาวะเรือน กระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ ว่า Green house effect ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ การขนส่ง และ การผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนั้น มนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโรคาร์บอน ( CFC) เข้าไปอีก ด้วย พร้อมๆกับการที่เราตัดและทำลาย ป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวย ความสะดวกให้แก่มนุษย์ ทำให้กลไกใน การดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป จากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิ ภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆที่เราได้กระทำ ต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของ ภาวะโลกร้อน

5 หนทางกู้โลก
มองไปรอบตัวตอนนี้มีแต่ปัญหาโดยเฉพาะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ธรรมชาติที่ดูเหมือนว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นทุกที จนอดคิดไม่ได้ว่าเราจะก้าวข้ามผ่านกันไปได้อย่างไรเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว Leonardo Dicaprio และ Fred Frupp ประธาน Environmental Defense Fund เขียนบทความลงใน the Guardian เกี่ยวกับหลักการที่เราต้องช่วยกันผลักดันหากต้องการให้การแก้ปัญหาการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นไปได้ หลังจากที่ประเทศส่วนใหญ่ได้มีการลงนามในข้อตกลงที่ปารีสแล้วแม้จะเป็นสิ่งที่ดูเหมือนหลายคนอาจทราบดีอยู่แล้ว แต่อย่างน้อยก็ช่วยตอกย้ำว่า เรารู้ว่าควรจะต้องทำอย่างไร เรารู้ว่าจะแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างไร อยู่ที่เราจะสามารถผลักดันให้รัฐบาลของทุกๆประเทศทำในสิ่งที่ควรทำและจำเป็น ต้องทำได้หรือไม่ ลองมาดู 5 แนวทางกู้โลกกัน

1 ลดการปล่อยคาร์บอนโดยคิดเป็นต้นทุนสำหรับผู้ปล่อย
การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นมาตรการที่สำคัญที่สุดในการต่อสู้กับการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอกาศ มาตรการสำคัญในการควบคุมการปล่อยอยู่ในระดับปลอดภัยทางวิทยาศาสตร์คือกลไก ทางด้านเศรษฐศาสตร์ ผู้ปล่อยคาร์บอนจะต้องถูกปฏิบัติเหมือนผู้สร้างมลภาวะ polluters pay นั่นคือต้องรับผิดชอบต้นทุนในปล่อย และสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ให้กับผู้ประกอบการที่ใช้เทคโนโลยีสะอาด

2 เร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานหมุนเวียน
ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีที่สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดได้ 100% แล้ว นี่ไม่ใช่เรื่องที่อยู่ในนิยายวิทยาศาสตร์อีกต่อไป ต้นทุนในการผลิตพลังงานหมุนเวียนลดต่ำลงอย่างมาก ในขณะที่กำลังการผลิตก็ขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่เพราะโครงสร้างการผลิตและส่งต่อพลังงานแบบเก่าที่ทำให้การเปลี่ยนผ่าน ต้องใช้เวลา อย่างไรก็ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตจะขึ้นอยู่กับการใช้พลังงานหมุน เวียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการเร่งการเปลี่ยนผ่านโดยเลือกลงทุนในพลังงานหมุนเวียนและยุติการ พึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลจึงสมควรเป็นนโยบายร่วมกันของทั้งโลก

3 ปกป้องคุ้มครองระบบนิเวศสำคัญของโลก
ระบบนิเวศที่สำคัญของโลกไม่ว่าจะเป็นป่าเขตร้อน มหาสมุทร คือกุญแจสำคัญของอนาคตที่ยั่งยืนของสรรพชีวิตบนโลกใบนี้ หากปราศจากธรรมชาติที่หลากหลายและสมบูรณ์ ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศจะยิ่งทวีความรุนแรงและส่งผลโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ยิ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าไปมากเท่าไหร่ นักวิทยาศาสตร์ยิ่งตระหนักถึงความจำเป็นในการปกป้องคุ้มครองธรรมชาติซึ่ง เป็นปราการด่านสุดท้ายในการค้ำจุนชีวิตทุกชีวิต การปกป้องระบบนิเวศธรรมชาติดั้งเดิมทั้งป่าเขาและทะเลจึงเป็นความจำเป็นยิ่ง ในการต่อสู้กับอนาคตที่ไม่แน่นอนของโลก

4 จริงจังกับมาตรการระยะสั้นทันที
แนวทางระยะยาวเป็นสิ่งจำเป็นแต่เราต้องไม่ลืมว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศกำลังเกิดขึ้นแล้วและเรารอไม่ได้อีกต่อไป การควบคุมการปล่อยก๊าซมีเธนนับเป็นหนึ่งในมาตรการที่สำคัญที่สุดที่เราทุกคน มีส่วนช่วยได้ ก๊าซมีเธนที่เกิดจากมนุษย์นับเป็นหนึ่งในสี่ของก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิด ภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน โชคดีที่ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีราคาถูกในการป้องกันการรั่วไหลของก๊าซมีเธน จากอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ แต่ที่สำคัญที่สุดคือการแก้ปัญหาขยะอินทรีย์เพื่อลดปัญหาการหมักหมมของขยะสด ในที่ทิ้งทำให้เกิดก๊าซมีเธนขณะที่เกิดการย่อยสลาย การแยกขยะสดและการส่งเสริมการทำปุ๋ยจากเศษอาหารจึงเป็นมาตรการที่ทุกคนมี ส่วนร่วมและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนได้ทันทีอย่างมีประสิทธิภาพ

5 พัฒนาการจัดการเมืองให้เป็นตัวอย่างของความยั่งยืน
ปัจจุบันกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั่วโลกอาศัยอยู่ในเมืองและมีส่วนในการ ปล่อยก๊าซมากกว่า70% ของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนพฤติกรรมของเมืองใหญ่ทั่ว โลก เราเริ่มเห็นแนวโน้มที่ดีในหลายๆเมืองใหญ่ทั่วโลกที่เป็นต้นแบบในเรื่องความ ยั่งยืนเช่น แวนคูเวอร์ สต๊อกโฮล์ม ซิดนีย์ ต่างตั้งเป้าที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ภายใน 10-20 ปี หากเมืองต่างๆเริ่มตั้งเป้าหมายคล้ายกันจะช่วยเร่งสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ จริงๆและรวดเร็วยิ่งขึ้น

5 แนวทางดังกล่าว เป็นสิ่งที่ทำได้จริง และมีตัวอย่างความสำเร็จจริงจากหลายพื้นที่ทั่วโลก ความเป็นจริงก็คืออนาคตของโลกใบนี้อยู่ที่มือของเรา ผู้นำชุมชน ภาคธุรกิจ และประชาชนทุกคน เราเลือกได้ขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะลงมือทำหรือเปล่าเท่านั้นเอง

เรียบเรียงจาก Five ways to deliver on Paris Climate Talks in The Guardians 22 April 2016 http://bit.ly/23NmA28

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ วัน, วันที่ เดือน ปี ชม:นาที