โดยมีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง โดยเฉพาะวัฒนธรรมการแต่งกายที่โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ คือ ผ้าฝ้ายที่ทอด้วยมือ ย้อมสีจากธรรมชาติ ตัดเย็บผ้าด้วยมือ ทอไว้ใช้กันในครัวเรือน เป็นผ้าซิ่นตีนแดง ผ้าขาวม้า ผ้าโพกหัวนาค ผ้าพื้น หมอนหนุน หมอนท้าว ผ้าบังหน้ามุ้ง มุ้ง และผ้าขาวม้าห้าสี บ้าน ทุ่งก้านเหลือง มีตำนานจากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ ที่ยังมีชีวิตอยู่เล่ากันว่า เมื่อหลายสิบปีก่อนบริเวณที่ตั้งบ้านเรือนนี้ เดิมทีมีบ่อน้ำใหญ่ มีต้นไม้ที่มีชื่อว่า "ต้นก้านเหลือง" อยู่กลางทุ่ง จึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า บ้านทุ่งก้านเหลืองซึ่ง มีบรรพบุรุษเป็นลาวซี ลาวครั่ง หมู่บ้านนี้น่าจะตั้งมากว่า ๒๐๐ ปีโดยประมาณ ปัจจุบันบ้านทุ่งก้านเหลืองมีถนน รพช. ผ่านไป ต.ป่าสะแก ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ มีวัดอยู่ ๑ แห่ง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ชื่อ วัดขวางเวฬุวัน ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำไร่อ้อย เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย และประกอบอาชีพรอง ได้แก่ ทอผ้า ย้อมผ้า เย็บผ้า ปลูกคราม เป็นต้น
บ้านทุ่งก้านเหลือง หมู่ที่ 5 มีประชาชนที่มีเชื้อสายของลาวซี ลาวครั่งมาอาศัยอย่มาก มีอาชีพทำการเกษตร และเมื่อว่างเว้นจากงานด้านการเกษตร จึงได้มาทอผ้าเพื่อเอาไว้ใช้ ที่เหลือจึงนำมาขาย และมีผู้สนใจเป็นจำนวนมาก จึงได้ทำการจัดตั้งกลุ่มทอผ้าขึ้นมา ซึ่งผ้าที่ทอออกมานั้นจะมีลายเฉพาะ หรือเป็นลายที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมลาวซี ลาวครั่ง สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
กระบวนการขั้นตอนการผลิต
นำเส้นด้าย และเส้นไหม มาย้อมสีธรรมชาติ เช่น เปลือกไม้ คราม หลังจากนั้นนำมาทอด้วยกี่แบบโบราณ เป็นลวดลายต่าง ๆ ตามจินตนาการของผู้ทอแต่ละคนและได้พัฒนาลวดลาย และขนาดของผ้าเรื่อยมา
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
เป็นผ้าทอลายเฉพาะของวัฒนธรรมลาวซี ลาวครั่ง ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของลาวซี ลาวครั่ง
ปริมาณการผลิต
ผ้าตีนจก 100-200 ผืน/เดือน ผ้าทอมัหมี่ 300-400 ผืน/เดือน ผ้าขาวม้า 400-500 ผืน/เดือน