15 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับปากและฟัน
น้อย
เพิ่มเติม
- จำนวนโพสต์: 4
- ขอบคุณที่รับ: 0
8 ปี 1 เดือน ที่ผ่านมา #477
โดย ณเดช
COM_KUNENA_MESSAGE_CREATED_NEW
15 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับปากและฟัน
1. รู้จักฟันกันหน่อย
ฟันเป็นอวัยวะพิเศษที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้นนอก (Ectoderm) เช่นเดียวกับผิวหนังหรือเกร็ดของปลา ฟันมี 2 ชุดคือฟันแท้และฟันน้ำนมซึ่งมีโครงสร้างคล้ายๆ กันดังนี้
มีชั้นเคลือบฟัน (Enamel)เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดและมีความแข็งที่สุดของฟัน ทำหน้าที่รับน้ำหนักในการบดเคี้ยว มีโครงสร้างเป็นผลึก ไม่มีเส้นเลือดและเส้นประสาท จึงเป็นส่วนที่ไม่ได้รับความรู้สึก เวลาที่ฟันเริ่มผุจึงไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ
ชั้นเนื้อฟัน (Dentine) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเข้ามา ประกอบด้วยท่อเล็กๆจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่รวมของเส้นประสาทรับความรู้สึก ดังนั้นเวลาฟันผุถึงชั้นนี้ ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเสียวฟัน
โพรงประสาทฟัน (Pulp) คือโพรงช่องว่างภายในฟัน เป็นที่อยู่ของเส้นประสาท และเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยงตัวฟัน ทำหน้าที่ในการรับความรู้สึกร้อน เย็น ปวด เจ็บ กรณีที่ฟันผุมาถึงชั้นนี้ จะไม่สามารถอุดฟันได้
ชั้นร่องเหงือก (Gingival crevice) คือร่องระหว่างตัวฟันกับขอบเหงือก ปกติจะมีขอบบาง มีความลึกประมาณ 2 มิลลิเมตร แต่ถ้ามีโรคเหงือกอักเสบ หรือเป็นรำมะนาด อาจมีอาการบวม ทำให้ร่องนี้ลึกขึ้น และเกิดการอักเสบมากขึ้นได้
2. ฟันแต่ละซี่มีประโยชน์อย่างไร
ฟันหน้าตัด (Incisor Teeth) อยู่บริเวณหน้าสุด มีทั้งหมด 8 ซี่ ทำหน้าที่กัดอาหาร
ฟันเขี้ยว (CanineTeeth) เป็นฟันที่มีรากยาวที่สุด มีทั้งหมด 4 ซี่ และมีความแข็งแรงมาก ปลายแหลม ทำหน้าที่ตัด ฉีก และแยกอาหารออกจากกัน
ฟันกรามน้อย (Premolar or Bicuspid Teeth) จะพบเฉพาะในฟันแท้เท่านั้น รูปร่างคล้ายฟันกรามแต่มีขนาดเล็กกว่า มีทั้งหมด 8 ซี่ ทำหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหารร่วมกับฟันกราม
ฟันกราม (Molar Teeth) เป็นฟันที่ใหญ่ที่สุดในปาก มีความสำคัญมากเพราะนอกจากจะช่วยในการบดเคี้ยวอาหารแล้ว ยังทำงานร่วมกับฟันเขี้ยวในการคุมทิศทางการเคลื่อนไหวของขากรรไกรอีกด้วย
3. ฟันสำคัญมากกว่าบดเคี้ยว
ช่วยในการพูดให้ออกเสียงชัดเจนขึ้น
ช่วยรักษาโครงสร้างใบหน้า ให้มีความกว้าง ความยาว และความอิ่มของริมฝีปากให้สมดุลกัน
เป็นส่วนประกอบของบุคลิกภาพ เพราะฟันเป็นส่วนหนึ่งที่มองเห็นได้ง่าย โดยเฉพาะเวลาที่พูดคุยกัน
4. เลือดออกตามไรฟัน สัญญาณ] เหงือกอักเสบ
เวลามีเลือดออกตามไรฟัน เรามักจะคิดกันว่าร่างกายขาดวิตามินซี จริงๆ แล้วสำหรับคนที่รับประทานผัก และผลไม้เป็นประจำตลอดทั้งปี โอกาสขาดวิตามินซีถึงขนาดเลือดออกตามไรฟันมีน้อยมาก และสำหรับผู้ที่กินผักและผลไม้เป็นประจำ แต่มีอาการเลือดออกตามไรฟันบ่อยๆโดยไม่ทราบสาเหตุนั้น ทันตแพทย์อนุศักดิ์ คงมาลัย กล่าวไว้ว่า เป็นอาการของคนที่ป่วยเป็นเหงือกอักเสบค่ะ ยิ่งหากใครที่แปรงฟัน (อย่างถูกต้อง) แล้วมีเลือดติดที่ขนแปรงเป็นประจำ ร่วมกับเวลาบ้วนปากด้วยน้ำปกติแล้วมีเลือดปนออกมาด้วย และมี กลิ่นปาก ด้วย ให้รู้ในทันทีว่าอาการเหงือกอักเสบมาเยือนคุณแล้ว
5. ฟลูออไรด์มากไปใช่ว่าดี
แม้ฟลูออไรด์จะช่วยป้องกันฟันผุ แต่หากได้รับมากเกินไปก็เกิดผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกันคือ ทำให้ฟันตกกระ ในขณะที่หน่อฟันกำลังเจริญเติบโต (แรกเกิดถึง 12 ปี )หากร่างกายได้รับฟลูออไรด์ในน้ำดื่มสูงกว่าสองส่วนในล้านส่วนขึ้นไป จะทำให้ฟันเปลี่ยนสีได้ตั้งแต่สีขาวขุ่น น้ำตาล ไปจนถึงน้ำตาลเข้ม (ด้วยเหตุนี้เด็กที่อายุต่ำกว่า 7 ปีจึงไม่ควรกินหรือกลืนยาสีฟัน) ทำให้เกิดภาวะผิดปกติเฉียบพลันในร่างกาย ในกรณีที่ร่างกายได้รับฟลูออไรด์ขนาด250 มิลลิกรัมขึ้นไปโดยทันที ฟลูออไรด์จะเข้าไปสร้างความระคายเคืองต่อเยื่อยุกระเพาะอาหาร ทำให้คลื่นไส้และอาเจียน ท้องเดินชักเกร็ง และอาจหมดสติถึงตายได้ (มักเกิดกับเด็กที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์) ลองมองหา ยาสีฟันสมุนไพร มาใช้ในการแปรงฟัน
ขอบคุณที่มาจาก www.kapook.com และ www2.hiherbdayandnightcare.com/
1. รู้จักฟันกันหน่อย
ฟันเป็นอวัยวะพิเศษที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้นนอก (Ectoderm) เช่นเดียวกับผิวหนังหรือเกร็ดของปลา ฟันมี 2 ชุดคือฟันแท้และฟันน้ำนมซึ่งมีโครงสร้างคล้ายๆ กันดังนี้
มีชั้นเคลือบฟัน (Enamel)เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดและมีความแข็งที่สุดของฟัน ทำหน้าที่รับน้ำหนักในการบดเคี้ยว มีโครงสร้างเป็นผลึก ไม่มีเส้นเลือดและเส้นประสาท จึงเป็นส่วนที่ไม่ได้รับความรู้สึก เวลาที่ฟันเริ่มผุจึงไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ
ชั้นเนื้อฟัน (Dentine) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเข้ามา ประกอบด้วยท่อเล็กๆจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่รวมของเส้นประสาทรับความรู้สึก ดังนั้นเวลาฟันผุถึงชั้นนี้ ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเสียวฟัน
โพรงประสาทฟัน (Pulp) คือโพรงช่องว่างภายในฟัน เป็นที่อยู่ของเส้นประสาท และเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยงตัวฟัน ทำหน้าที่ในการรับความรู้สึกร้อน เย็น ปวด เจ็บ กรณีที่ฟันผุมาถึงชั้นนี้ จะไม่สามารถอุดฟันได้
ชั้นร่องเหงือก (Gingival crevice) คือร่องระหว่างตัวฟันกับขอบเหงือก ปกติจะมีขอบบาง มีความลึกประมาณ 2 มิลลิเมตร แต่ถ้ามีโรคเหงือกอักเสบ หรือเป็นรำมะนาด อาจมีอาการบวม ทำให้ร่องนี้ลึกขึ้น และเกิดการอักเสบมากขึ้นได้
2. ฟันแต่ละซี่มีประโยชน์อย่างไร
ฟันหน้าตัด (Incisor Teeth) อยู่บริเวณหน้าสุด มีทั้งหมด 8 ซี่ ทำหน้าที่กัดอาหาร
ฟันเขี้ยว (CanineTeeth) เป็นฟันที่มีรากยาวที่สุด มีทั้งหมด 4 ซี่ และมีความแข็งแรงมาก ปลายแหลม ทำหน้าที่ตัด ฉีก และแยกอาหารออกจากกัน
ฟันกรามน้อย (Premolar or Bicuspid Teeth) จะพบเฉพาะในฟันแท้เท่านั้น รูปร่างคล้ายฟันกรามแต่มีขนาดเล็กกว่า มีทั้งหมด 8 ซี่ ทำหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหารร่วมกับฟันกราม
ฟันกราม (Molar Teeth) เป็นฟันที่ใหญ่ที่สุดในปาก มีความสำคัญมากเพราะนอกจากจะช่วยในการบดเคี้ยวอาหารแล้ว ยังทำงานร่วมกับฟันเขี้ยวในการคุมทิศทางการเคลื่อนไหวของขากรรไกรอีกด้วย
3. ฟันสำคัญมากกว่าบดเคี้ยว
ช่วยในการพูดให้ออกเสียงชัดเจนขึ้น
ช่วยรักษาโครงสร้างใบหน้า ให้มีความกว้าง ความยาว และความอิ่มของริมฝีปากให้สมดุลกัน
เป็นส่วนประกอบของบุคลิกภาพ เพราะฟันเป็นส่วนหนึ่งที่มองเห็นได้ง่าย โดยเฉพาะเวลาที่พูดคุยกัน
4. เลือดออกตามไรฟัน สัญญาณ] เหงือกอักเสบ
เวลามีเลือดออกตามไรฟัน เรามักจะคิดกันว่าร่างกายขาดวิตามินซี จริงๆ แล้วสำหรับคนที่รับประทานผัก และผลไม้เป็นประจำตลอดทั้งปี โอกาสขาดวิตามินซีถึงขนาดเลือดออกตามไรฟันมีน้อยมาก และสำหรับผู้ที่กินผักและผลไม้เป็นประจำ แต่มีอาการเลือดออกตามไรฟันบ่อยๆโดยไม่ทราบสาเหตุนั้น ทันตแพทย์อนุศักดิ์ คงมาลัย กล่าวไว้ว่า เป็นอาการของคนที่ป่วยเป็นเหงือกอักเสบค่ะ ยิ่งหากใครที่แปรงฟัน (อย่างถูกต้อง) แล้วมีเลือดติดที่ขนแปรงเป็นประจำ ร่วมกับเวลาบ้วนปากด้วยน้ำปกติแล้วมีเลือดปนออกมาด้วย และมี กลิ่นปาก ด้วย ให้รู้ในทันทีว่าอาการเหงือกอักเสบมาเยือนคุณแล้ว
5. ฟลูออไรด์มากไปใช่ว่าดี
แม้ฟลูออไรด์จะช่วยป้องกันฟันผุ แต่หากได้รับมากเกินไปก็เกิดผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกันคือ ทำให้ฟันตกกระ ในขณะที่หน่อฟันกำลังเจริญเติบโต (แรกเกิดถึง 12 ปี )หากร่างกายได้รับฟลูออไรด์ในน้ำดื่มสูงกว่าสองส่วนในล้านส่วนขึ้นไป จะทำให้ฟันเปลี่ยนสีได้ตั้งแต่สีขาวขุ่น น้ำตาล ไปจนถึงน้ำตาลเข้ม (ด้วยเหตุนี้เด็กที่อายุต่ำกว่า 7 ปีจึงไม่ควรกินหรือกลืนยาสีฟัน) ทำให้เกิดภาวะผิดปกติเฉียบพลันในร่างกาย ในกรณีที่ร่างกายได้รับฟลูออไรด์ขนาด250 มิลลิกรัมขึ้นไปโดยทันที ฟลูออไรด์จะเข้าไปสร้างความระคายเคืองต่อเยื่อยุกระเพาะอาหาร ทำให้คลื่นไส้และอาเจียน ท้องเดินชักเกร็ง และอาจหมดสติถึงตายได้ (มักเกิดกับเด็กที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์) ลองมองหา ยาสีฟันสมุนไพร มาใช้ในการแปรงฟัน
ขอบคุณที่มาจาก www.kapook.com และ www2.hiherbdayandnightcare.com/
การเข้าถึงฟอรั่ม
- อนุญาตให้: การสร้างหัวข้อใหม่
- อนุญาตให้: ตอบ
- ไม่อนุญาต: to add Images.
- ไม่อนุญาต: to add Files.
- ไม่อนุญาต: การแก้ไขข้อความของคุณ
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.129 วินาที