แต่ถ้ามีกากใยอาหารมากๆ กากใยอาหารเหล่านี้จะช่วยดูดน้ำและเพิ่มปริมาณ ทำให้กากอาหารมีน้ำหนักมากจะเคลื่อนออกสู่โลกภายนอกได้เร็ว กากใยอาหารจึงช่วยลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
* แก้กระหาย ขับปัสสาวะ ละลายเสมหะ แก้ไอ บำรุงกำลังแก้อาการร้อนต่างๆ ได้ดี เพราะมีฤทธิ์เย็นเช่นเดียวกับเห็ด
* ขับพิษใต้ผิวหนัง ขับผื่นหัดรวมถึงผื่นชนิดอื่นๆ เพียงดื่มน้ำแกงที่ได้จากการต้มหน่อไม้ร่วมกับปลาตะเพียน
* แก้โรคบิดเรื้อรังได้
นอกจากหน่อไม้สดจะมีคุณค่าทางอาหารสูงแล้ว ตัวหน่อไม้ดองเองแม้จะไม่มีคุณค่าทางอาหาร แต่ยังมีคุณค่าแฝงอยู่อีกคือ จะมีแบคทีเรียในหน่อไม้ดองที่ชื่อ คลอสทริเดีย เป็นแบคทีเรียที่ปนอยู่ในดิน เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะไร้ออกซิเจน เช่น ในอาหารจำพวกของหมักดองทั้งหลายและรวมทั้งอาหารกระป๋องที่ไม่ได้ผ่านกระบวน การทำลายแบคทีเรียอย่างถูกวิธี แบคทีเรียชนิดนี้มีพิษแต่มันก็มีประโยชน์ ซึ่งสำนักงานอาหารและยา หรือ FDA ของสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้นำแบคทีเรียนี้ไปผ่านกระบวนการแยกเอาสารพิษออกแล้ว ทำให้เจือจาง เพื่อนำไปใช้ในการบำบัดรักษาโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ โดยตั้งชื่อใหม่ว่า โบท็อก
สารอาหารในหน่อไม้
หน่อไม้สด ครึ่งถ้วยตวง (76กรัม)
คาร์โบไฮเดรต 4 กรัม 1 %
เส้นใยอาหาร 2 กรัม 8%
โปรตีน 2 กรัม 4 %
วิตามินซี 6%
เหล็ก 2%
สังกะสี 6%
ไทอะมีน (วิตามินบี 1) 8%
ไนอะซิน (วิตามินบี 5) 2%
วิตามินบี 6 10%
ฟอสฟอรัส 4 %
หน่อไม้สด ครึ่งถ้วยตวง (76กรัม)
คาร์โบไฮเดรต 4 กรัม 1 %
เส้นใยอาหาร 2 กรัม 8%
โปรตีน 2 กรัม 4 %
วิตามินซี 6%
เหล็ก 2%
สังกะสี 6%
ไทอะมีน (วิตามินบี 1) 8%
ไนอะซิน (วิตามินบี 5) 2%
วิตามินบี 6 10%
ฟอสฟอรัส 4 %
ข้อควรระวังในการรับประทานหน่อไม้
หน่อไม้มีคุณค่าทางอาหารสูงในตัวของมันเอง ส่วนหน่อไม้ดองก็มีคุณค่าแฝง แต่สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคบางชนิดแล้ว แพทย์เองก็ไม่แนะนำให้ทานเหมือนกัน
หน่อไม้มีคุณค่าทางอาหารสูงในตัวของมันเอง ส่วนหน่อไม้ดองก็มีคุณค่าแฝง แต่สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคบางชนิดแล้ว แพทย์เองก็ไม่แนะนำให้ทานเหมือนกัน
ผู้ป่วยเป็นโรคเกาต์ ไม่ควรรับประทาน เพราะในหน่อไม้มีสารพิวรินสูง ซึ่งสารตัวนี้อาจจะทำให้กรดยูริกที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเกาต์สูงขึ้น ซึ่งกรดยูริกเป็นสารที่เกิดจากการเผาผลาญของพิวรีน มีมากในเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ถั่วต่างๆ และพืชผักอ่อนโดยเฉพาะหน่อไม้
ผู้ที่มีภาวะไตเสื่อม โดยปกติกรดยูริกจะถูกขับออกทางปัสสาวะของคนเรา หากร่างกายมีการสร้างกรดยูริกมากเกินไปหรือไตขับยูริกได้น้อยลง เนื่องจากไตเสื่อมลง กรดยูริกก็จะตกผลึกตามข้อ ผนังหลอดเลือด ไต และอวัยวะต่างๆทำให้เกิดอาการปวดข้อและโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ เช่น ข้อพิการ นิ่วในไต กระดูกพรุน เป็นต้น
ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับหน่อไม้
คนไทยเรามักจะคิดว่าหน่อไม้มีแต่โทษเป็นของแสลง ถ้าไม่กินจะดีกว่า กินหน่อไม้แล้วปวดข้อ จริงๆ แล้วตัวหน่อไม้เองนั้นไม่ได้ทำให้ข้อเสื่อมหรือปวดข้อ แต่จะมีผลกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์เท่านั้น ดังนั้นคนที่มีอาการปวดข้อจากสาเหตุอื่นๆ จึงกินหน่อไม้ได้ปกติ คนเป็นเบาหวานห้ามกิน การกินหน่อไม้นั้นไม่ได้มีผลกับระดับน้ำตาลในกระแสเลือด เพราะฉะนั้นแม้เป็นเบาหวานก็รับประทานได้..ผู้ป่วยเป็นโรคตับห้ามรับประมาน ซึ่งโรคตับในที่นี้มีได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากไวรัสบีและอาการตับแข็ง แต่แพทย์ยืนยันว่าการรับประทานหน่อไม้ไม่มีผลต่อโรคดังกล่าว..เมื่อมีอาการตกขาวหรือระดูขาวให้งดกินหน่อไม้ จริงแล้วหน่อไม้หน่อไม้สดไม่มีผลกับอาการ แต่หากผู้ที่มีอาการตกขาวก็ยังสามารถรับประทานหน่อไม้สดได้
แต่อย่างไรก็ตาม ก็ควรจะกินอย่างพอดี ของทุกอย่างมี 2 ด้าน หน่อไม้ก็เหมือนกัน