จากการขุดค้นพบพุทธปฎิมากรรมทั่วทั้งจังหวัดสุพรรณบุรี จากสถิติพบไม่น้อยกว่า 140 - 150 ครั้ง ตั้งแต่สมัยอมราวดีเป็นต้นมา ทำให้สันนิษฐานได้ว่าจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นเมืองที่พุทธศาสนาฝังรากไว้อย่าง หนาแน่น ไม่น้อยกว่า 2,300 ปี มาแล้ว ราว พ.ศ.700 - 800 อาณาจักรสุวรรณภูมิซึ่งมีนครปฐุมเป็นราชธานี ต้องตกเป็นเมืองออกของจีนและเขมร ต่อมาราว พ.ศ.1113 พวกไทยเมืองละโว้ได้กู้อิสรภาพสำเร็จ อาณาจักรสุวรรณภูมิโบราณนี้ได้กลับมีความเจริญรุ่งเรืองอีกวาระหนึ่งและมี ชื่อใหม่ว่า "อาณาจักรทวารวดี" ในสมัยนั้น เมืองอู่ทอง (สุพรรณบุรี) คงจะเจริญเป็นบึกแผ่นแล้วดังที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพเล่าไว้ในนิทานโบราณคดีเรื่อง "เมืองอู่ทอง" ว่า "ข้าพเจ้า เข้าไปดูเมืองท้าวอู่ทอง เมืองตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของลำน้ำ จระเข้สามพัน ดูเป็นเมืองเก่าใหญ่โต เคยมีป้อมปราการก่อด้วยศิลา แต่หักพัง ไปเสียเกือบหมดแล้ว ยังเหลือคงรูปแต่ประตูเมืองแห่งหนึ่งกับป้องปราการ.."
เมืองทวารวดี (นครปฐม) เจริญแล้วก็เสื่อมลงตามความเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์บ้าง จากสงครามบ้าง บางคราวถึงกับทิ้งร้างไปนานๆ ถึงสมัยอู่ทอง พระยาพานได้พยายามบูรณะใหม่ แต่น้ำท่าไม่อุดมสมบูรณ์เหมือนสมัยโบราณ พระยาพานจึงได้แต่เพียงซ่อมองค์ พระปฐมเจดีย์ แล้วสถาปนาเมืองพันธุมบุรีที่บนฝั่งแม่น้ำ (ท่าจีน) ขึ้นแทนระหว่าง พ.ศ.1420 - 425 และได้ครองเมืองนี้ ต่อมาจนสวรรคต ในราว พ.ศ.1459 พระพรรษาได้ครองราชย์แทน แต่แล้วกลับเสด็จไปครองเมืองอู่ทองซึ่งใหญ่กว่า เมืองอู่ทอง จึงเป็นราชธานี เรียกกว่า "เมืองศรีอยุธยา" อยู่พักหนึ่ง ต่อจากนั้นเหตุการณ์เมืองพันธุมบุรีได้เงียบหายไปราวสองศตวรรษ มาปรากฏเรื่องราวอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระเจ้ากาแต เชื้อสายมอญได้เสวยราชย์ในเมืองอู่ทอง แล้วย้ายราชธานีกลับมาอยู่ที่เมืองพันธุมบุรี ได้มอบหมายให้มอญน้อย (พระญาติ) สร้างวัดสนามไชยและบูรณะวัดลานมะขวิด (วัดป่าเลไลยก์) ในบริเวณเมืองพันธุมบุรีเสียใหม่ เมื่อบูรณะวัดแล้วทางราชการได้เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา และชวนกันออกบวชถึงสองพันคน จึงได้เรียกชื่อเมืองนี้ใหม่ว่า "เมืองสองพันบุรี"
เมืองอู่ทอง มีกษัตริย์ครองราชย์สืบต่อกันมาหลายพระองค์ เรียกว่า "พระเจ้าอู่ทอง" ทั้งสิ้น และพระราชธิดาของพระเจ้าอู่ทอง ได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าราม โอรสพระเจ้าศิริชัยเชียงแสน ต่อมาพระเจ้ารามขึ้นครองเมืองอู่ทองแทน (พ่อตา) คนทั่วไปก็เรียกว่า "พระเจ้าอู่ทอง" เมื่อขุนหลวงพะงั่ว (พี่มเหสี) ขึ้นครองเมืองสองพันบุรี และได้ย้ายไปครองเมืองอู่ทอง เมืองอู่ทองต้องกลายเป็นเมืองร้างเพราะแม่น้ำจระเข้สามพันเปลี่ยนทางเดิน ใหม่และตื้นเขิน ซ้ำร้ายยังเกิดโรคห่า (อหิวาตกโรค) อีกด้วย ขุนหลวงพะงั่วจึงย้ายกลับมาประทับที่ เมืองสองพันบุรี และภายหลังจึงได้เปลี่ยนชื่อเมืองนี้เสียใหม่ว่า "เมืองสุพรรณบุรี" เมื่อ พ.ศ.1890
เมืองสุพรรณบุรี ที่ สร้างขึ้นในสมัยอู่ทองนั้น ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำสุพรรณบุรี (ท่าจีน) ยังมีคูและกำแพงเมืองปรากฏอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้ แต่ตัวเมืองในปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าพี่เลี้ยงทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำ สันนิษฐานว่าคงย้ายมา เมื่อสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะในสมัยกรุงธนบุรีกำลังมีศึกพม่าเข้ามาประชิดติดพัน ยังไม่มีเวลาว่างที่จะทรงคิดในเรื่องการสร้างบ้านเมืองใหม่ขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็แสดงว่าเมืองที่ย้ายมาตั้งขึ้นใหม่นี้ ยังคงเป็นป่าเปลี่ยวอยู่ บ้านเรือนราษฎรก็มีแต่เฉพาะตามริมแม่น้ำเท่านั้น ลึกจากลำน้ำเข้าไปยังเป็นป่าอยู่แทบทั้งสิ้น ตามที่สุนทรภู่กวีเอกของไทยไปเที่ยวเมืองสุพรรณ ยังพรรณาไว้ในโคลงนิราศสุพรรณว่า "ได้พบเสืออยู่ในบริเวณเมืองสุพรรณบุรีนี้" ตั้งแต่สมัยโบราณมีคติถือกันโดยเคร่งครัดต่อกันมาว่า "ห้ามมิให้เจ้านายเสด็จไปเมืองสุพรรณ" แต่จะห้ามมาแต่ครั้งใดและด้วยเหตุผลประการใดนั้นไม่มีผู้สามารถจะตอบได้ จนกระทั่งถึงต้นรัชกาลที่ 5 ก็ยังคงถือกันเป็นประเพณีอยู่เช่นนี้เรื่อยมา เมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรง ราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย จะเสด็จไปตรวจราชการที่เมืองนี้ พระยาอ่างทองยังทูลห้ามไว้ โดยถวายเหตุผลว่า เทพารักษ์หลักเมืองไม่ชอบเจ้านาย ถ้าเสด็จไปมักจะทำให้เกิดอันตรายต่างๆ แต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพไม่ทรงเชื่อ ทรงขืนเสด็จไปเมืองสุพรรณบุรีเป็นพระองค์แรก เพื่อจะทรงตรวจราชการที่เมืองนี้ ควรจะช่วยเหลือให้ความสะดวกอย่างไร หรือควรทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นอย่างไร ไม่ใช่การไปทำความชั่ว เทพารักษ์ประจำเมืองคงจะไม่ให้โทษเป็นแน่ เมื่อเสด็จกลับจากตรวจราชการครั้งนั้นแล้ว ก็ไม่ทรงได้รับภยันตรายประการใด เจ้านายพระองค์อื่นทรงเห็นเช่นนั้นก็ทรงเลิกเชื่อถือคติโบราณ และเริ่มเสด็จประภาสกันต่อมาเนืองๆ ครั้นเมื่อ พ.ศ.2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองสุพรรณอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่นั้นเป็นมาก็ไม่มีผู้ใดพูดถึงคติที่ห้ามเจ้านายมิให้เสด็จไปเมือง สุพรรณอีกเลย ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการปกครองมณฑลเทศาภิบาล เมืองสุพรรณก็รวมอยู่ในมณฑลนครชัยศรี ซึ่งประกอบด้วย เมืองนครชัยศรี สุพรรณบุรี และสมุทรสาคร ในปี พ.ศ.2438 จนกระทั่งในปี พ.ศ.2456 มีการเปลี่ยนชื่อเมืองมาเป็นจังหวัด เมืองสุพรรณบุรีจึงเป็นจังหวัด สุพรรณบุรี ตั้งแต่นั้นมา ...
ต้นไม้ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ........ ต้นมะเกลือ
เป็นไม้มงคลที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระราชทานเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537 เพื่อให้พสกนิกรชาวสุพรรณบุรีนำมาปลูกเป็นสิริมงคล
ดอกไม้ประจำจังหวัด ......... ดอกสุพรรณิการ์