เที่ยว'ด่านช้าง'ชมมรดกทางวัฒนธรรมยุคหินใหม่กว่า ๔,๐๐๐ ปี

เขียนโดย 
พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพุน้ำร้อน มรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นประเพณีวิถีการดำรงชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น กะเหรี่ยง ละว้า ลาวครั่ง เป็นต้น และมรดกทางวัฒนธรรมประเภทหลักฐานทางโบราณคดี ซึ่งจากการสำรวจของนักโบราณคดี และปราชญ์ท้องถิ่นทำให้ได้ทราบว่า พื้นที่อำเภอด่านช้างมีมนุษย์เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยตั้งแต่สมัยหินใหม่ เมื่อประมาณ 4,๐๐๐ ปีมาแล้ว ได้พบหลักฐานของคนสมัยนี้หนาแน่นในเขตบ้านพุน้ำร้อน บ้านโป่งคอม และพื้นที่ใกล้เคียง
 
 
พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพุน้ำร้อน บ้านพุน้ำร้อน หมู่ที่ 4 ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี พื้นที่อำเภอด่านช้าง เป็นบริเวณที่ได้พบมรดกทางวัฒนธรรมเป็นจำนวนมากและมีความหลากหลาย มีทั้งมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นประเพณีวิถีการดำรงชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ ต่างๆ เช่น กะเหรี่ยง ละว้า ลาวครั่ง เป็นต้น และมรดกทางวัฒนธรรมประเภทหลักฐานทางโบราณคดี ซึ่งจากการสำรวจของนักโบราณคดีและปราชญ์ท้องถิ่นทำให้ได้ทราบว่าพื้นที่อำเภอด่านช้างมีมนุษย์เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยตั้งแต่สมัยหินใหม่ เมื่อประมาณ 4,๐๐๐ ปีมาแล้ว ได้พบหลักฐานของคนสมัยนี้หนาแน่นในเขตบ้านพุน้ำร้อน บ้านโป่งคอม และพื้นที่ใกล้เคียง
 
ส่วนในระยะหลังสมัยอยุธยาพื้นที่นี้ยังมีความสำคัญในฐานะเป็นแหล่งแร่ธาตุ เหล็กและตะกั่วที่สำคัญของสมัยนั้น และอาจรวมไปถึงบรรดาของป่าต่างๆ ด้วย ที่อำเภอด่านช้างนี้สำรวจพบร่องรอยกิจกรรมถลุงเหล็กและตะกั่วหลายแห่งกระจาย อยู่ในหลายตำบลซึ่งข้อมูลและเรื่องราวทางโบราณคดีเหล่านี้นับเป็นข้อมูลใหม่ที่สำคัญ ทั้งยังมีโบราณวัตถุและข้าวของเครื่องใช้สมัยโบราณซึ่งมีที่มาจากพื้นที่ อำเภอด่านช้างเป็นหลักฐานรองรับเรื่องราวจำนวนมากเก็บรักษาไว้ที่วัดพุน้ำ ร้อนตำบลด่านช้าง
 
โดยมีท่านพระครูวิสิฐสุวรรณคุณ (พระอาจารย์เสน่ห์) เจ้าอาวาสวัดเป็นผู้ดูแลรักษาไว้ เมื่อ นายไพฑูรย์ รักษ์ประเทศ นายอำเภอด่านช้าง เข้ามาดำรงตำแหน่ง จึงได้บูรณาการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลด่านช้างวัดพุน้ำร้อน กองทุนพัฒนาพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าอำเภอด่านช้าง กรมศิลปากร และผู้นำท้องถิ่นร่วมกันดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนพุน้ำร้อนให้เป็น แหล่งเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรมโดยจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนที่จัดแสดงโบราณวัตถุที่พบในพื้นที่และบอกเล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาของชาวด่านช้างตั้งแต่ในอดีตยุคหินใหม่จนถึง ยุคปัจจุบัน
 
การจัดแสดง..มีอาคารจัดแสดงจำนวน 3 อาคาร มีรายละเอียดการจัดแสดง ดังนี้

ศูนย์การเรียนรู้ที่ 1 อาคารนี้จัดแสดง เครื่องมือเครื่องใช้และสิ่งประดิษฐ์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน วัตถุจัดแสดง ประกอบด้วย 1) เครื่องมือหินขัดที่พบจากเขตอำเภอด่านช้าง อายุประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว บางชิ้นก็เป็นเครื่องมือหินที่ได้มาจากประเทศลาว (เป็นของบริจาคจากคณะครูในโรงเรียนให้เป็นที่ระลึกในโอกาสที่เดินทางไป ประเทศลาว) และ กรามช้าง 2) ภาชนะดินเผาทั้งแบบเนื้อดิน เนื้อแกร่ง เครื่องถ้วย ภาชนะโลหะสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (หม้อสนามของทหารญี่ปุ่น) 3) รูปเคารพ พระพุทธรูป พระพิมพ์ ศิวลึงค์และฐานโยนี 4) เครื่องใช้สมัยใหม่ เช่น นาฬิกาปลุก เครื่องเล่นแผ่นเสียงโบราณ โทรศัพท์มือถือ วิทยุ กล้องถ่ายรูปแบบใช้ฟิล์ม พัดลม เครื่องพิมพ์ดีด จักรเย็บผ้า เครื่องปรับระบบเสียง (บนเวที) วัตถุเด่นในอาคารแสดงส่วนนี้คือเครื่องมือหินขัดที่พบในเขตอำเภอด่านช้าง โดยผู้จัดแสดงให้ความข้อมูลว่าเป็นหลักฐานแสดงถึงการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ ของมนุษย์ในแถบนี้

ศูนย์การเรียนรู้ที่ 2 เป็นอาคารขนาดเล็ก จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับชนพื้นเมืองในอำเภอด่านช้าง ภายในมีบ้านเรือนจำลองของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง และลาวครั่ง เครื่องแต่งกายที่สวมอยู่บนหุ่นของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ละว้า ลาวครั่ง และชาวสุพรรณบุรี (คนพื้นราบ) เครื่องใช้ของกลุ่มชาติพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีรูปลอยตัวของจตุคามรามเทพ ที่ได้รับมอบมาจากวัดในอำเภอด่านช้าง ตั้งแต่ครั้งเปิดให้เช่ารูปจำลองจตุคามรามเทพ เมื่อเสร็จจากงานแล้วทางวัดได้มอบมาให้โรงเรียน และสุดท้ายคือ วัตถุเกี่ยวกับโรงเรียนอนุบาลด่านช้างรุ่นเก่า ๆ เช่น ระฆังเรียกเข้าแถว ภาพถ่ายโรงเรียนในอดีต

ศูนย์การเรียนรู้ที่ 3 จัดแสดงเครื่องมือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน และวิถีชีวิต ประกอบด้วยเครื่องสีโบก (เครื่องสีข้าวแบบโบราณที่ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน) ไหหมักน้ำปลา (จากปลาน้ำจืดในเขื่อนที่อยู่ใกล้เคียง) หรือใช้ดองผักเสี้ยน ภาชนะดินเผาหลากหลายประเภท (หม้อ ไห) เครื่องจักสานพื้นบ้าน (กระบุง ตะกร้า) เครื่องมือในการทำเกษตร (เครื่องสีข้าว พร้อมสำหรับเก็บข้าวในยุ้ง ตัวโกยที่หาบข้าว)

การเดินทาง
การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวจากกรุงเทพใช้ถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนตะวันตก) เมื่อพ้นจากเขตอำเภอบางบัวทองจะพบถนนแยกไปทางซ้าย เป็นถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 บางบัวทอง-สุพรรณบุรี ประมาณ 63 กม. จะพบป้ายบอกทางไปกาญจนบุรี/นครปฐม แยกไปทางซ้ายมือก่อนเข้าตัวเมืองสุพรรณบุรี เข้าสู่ถนนหมายเลข 357 ตามป้ายบอกทางไป อ.ดอนเจดีย์ และ อ.ศรีประจันต์ เป็นระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร จะพบทางเบี่ยงซ้ายเข้าสู่ถนนหมายเลข 322 ไปประมาณ 4 กม. จนข้ามสะพานข้ามแม่น้ำ ให้เตรียมเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนหมายเลข 3460 ไปประมาณ 13 กม. เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนหมายเลข 333 วิ่งต่อไปประมาณ 45 กม.จนพบสี่แยกที่มีหอนาฬิกาอยู่ตรงกลาง เลี้ยวขวาเข้าถนนหมายเลข 3350 มุ่งหน้าสู่ตัว อ.ด่านช้าง เลี้ยวขวาที่บริเวณกลับรถ (U-tern) แห่งที่สองเพื่อเข้าสู่ประตูโรงเรียนอนุบาลด่านช้างซึ่งอยู่ทางด้าน ขวามือ

 
สถานที่ติดต่อเข้าชม: องค์การบริหารส่วนตำบลด่านช้าง โทร. ๐-๓๕๕๙-๖๑๓๗, ๐๘-๖๑๖๘-๗๕๗๔ วัดพุน้ำร้อนโทร. ๐๘-๗๙๐๒-๗๓๐๘
 

 


ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ วัน, วันที่ เดือน ปี ชม:นาที

อัลบั้มรูป