ความสูญเสียทุกประเภททำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างน้อยก็ในด้านอารมณ์ความรู้สึก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความกลัวถ้าหากบังไม่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เราก็ไม่อาจทราบได้ว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้นกับเรา และจะมีผลกระทบอย่างไร
บางคนไม่สามารถก้าวข้ามความกลัวของตนเองได้ เพราะไม่สามารถยอมรับบางเรื่องทั้งจากตนเองและผู้อื่นได้ ความกลัวจึงคั่งค้างอยู่ อาจจะเป็นเพราะ เราเชื่อว่า ความกลัวคือความอ่อนแอ และความหวาดหวั่นเป็นความล้มเหลวสำหรับตนเอง ดังนั้นจึงพยายามค้นหาทุกวิถีทางเพื่อปฏิเสธและกำจัดความรู้สึกเหล่านี้
วิธีเดียวที่จะสามารถผ่านพ้นความกลัวไปได้ ก็คือ ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นและหาทางก้าวข้ามความกลัวนั้นไปให้ได้ ไม่มีวิธีลัดสำหรับการแก้ปัญหานี้ และนี่คือวิธีที่จะทำให้เผชิญหน้ากับความกลัว ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการตกงานในอดีต:บอกตนเองว่า ความกลัวไม่ใช่เรื่องที่เลวร้าย ความกลัวเป็นเพียงแค่อารมณ์ชนิดหนึ่งของมนุษย์ตามธรรมชาติ ซึ่งทำให้เรารู้จักหาวิธีปกป้องตนเองแยกแยะความรู้สึกกลัวของตนเอง เมื่อเข้าใจความรู้สึกนั้นแล้ว จะทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น อีกนัยหนึ่ง ก็เหมือนกับจิตวิญญาณชั่วร้ายที่สิงอยู่ในใจ และพยายามเอาชนะเราด้วยการสร้างปัญหาต่างๆระบายความรู้สึกกลัวในจิตใจให้ผู้อื่นที่ไว้วางใจได้รับรู้ความรู้สึกนั้นเมื่อคุณกลายเป็นคนที่ไม่กล้าทำอะไรเลย
เนื่องจากความกลัวควรลดความรู้นั้นลงโดยการเขียนบรรยายความรู้สึกนั้นออกมา รวมทั้งเขียนทางออกที่ดีสำหรับความกลัวนั้นลงไปด้วยความกลัวแต่ละประเภท ก็คือ สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้จริง หรือกล่าวได้ว่า ความกลัวจะอยู่คู่กับ "ความผิดพลาดที่ปรากฎขึ้น"แต่ละครั้งที่รู้สึกกังวล ลองเขียนสิ่งที่คุณต้องป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นจริง ความกลัวคือสิ่งเกิดขึ้นโดยไม่ได้เตรียมรับมือ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ต้องการถ้ารู้สึกกลัวว่าจะต้องสูญเสียงานที่ทำ ควรหาสาเหตุเพื่อเป็นคำตอบแก่ตนเองให้ได้
บางครั้งปัญหาอาจจะเกิดขึ้นเพียงเพราะไม่มีความมั่นใจในตนเอง มากกว่าปัจจัยอื่นๆระบุความเป็นไปได้ที่คุณคิดว่า จะทำให้เกิดปัญหานั้น เช่น การตกงาน เป็นต้นแจงรายละเอียดเกี่ยวกับคุณค่าของตนเอง แล้วเปรียบเทียบกับความกลัวเหล่านั้น อาจจะพบว่าสิ่งที่คุณกลัวกลายเป็นเรื่องเล็กน้อย เมื่อเทียบกับความสามารถของคุณก็เป็นได้ เมื่อหลุดจากตำแหน่งการทำงาน เราอาจจะคิดว่าสูญเสียสิ่งต่างๆมากมายเกินกว่าเพียงเรื่องงาน ความมั่นใจอาจจะลดน้อยลง การเงินไม่มั่นคง เป้าหมายและความฝันสั่นคลอน และอีกมากมาย ดังนั้น "ก้าวเดิน" จึงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เมื่อมันเกิดขึ้นกับตนเอง ดังนั้นต้องพยายามคำนึงถึงเหตุผลและลดความสูญเสียนั้น โดยบอกกับตนเองว่า ยังมีคนที่แย่กว่าเรามากมาย และยังเจ็บปวดกับเรื่องนั้นๆอยู่
เมื่อรู้สึกเสียใจ จะทำให้เกิดผลกระทบต่อความเป็นอยู่โดยทั่วไป- ทั้งทางร่ายกาย จิตใจ จอตวิญญาณ และความรู้สึก เราสามารถใช้ประโยชน์จาก "ความเสียใจ" ในอดีตเพื่อเรียนรู้ได้ ถ้าไม่เคยประสบกับความรู้สึกเศร้าโศกเลย เมื่อเกิดขึ้นครั้งแรงจะเจ็บปวดมาก และมีผลกระทบในด้านความรู้สึกเป็นเวลายาวนาน อย่างไรก็ตาม เราสามารถเรียนรู้จากความเสียใจเหล่านั้นเพื่อป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก ได้
โดยปกติแล้ว ความเศร้าโศกจะใช้ระยะเวลาแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับระดับความมั่นใจในตนเอง ซึ่งมีผลต่อปัญหานั้น ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามองว่าหน้าที่การงานคือความเป็นตัวเรา เป็นความภูมิใจและความเชื่อมั่นในตนเอง ก็อาจต้องใช้เวลานานในการกำจัดความรู้สึกสูญเสีย มากกว่าผู้ที่คิดว่า ชีวิตไม่ได้มีแค่เรื่องงานเท่านั้น
สิ่งดีๆที่เกิดขึ้นพร้อมกับความเศร้าก็มีเช่นกัน ซึ่งอาจะเป็นสิ่งบางคนคาดไม่ถึง ไม่ใช่เพียงแค่สงสารและเข้าใจตนเองเท่านั้น ที่จะช่วยให้ยอมรับความเสียใจนั้นไว้ได้ ถ้าหากไม่ยอมรับ เราก็จะจมอยุ่กับความรู้สึกนั้น ถ้าไม่ยอมรับความเสียใจของตนเอง อาจจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่อมา รวมทั้งการปรับเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ต้องใช้เวลานานกว่าที่จำเป็น ความเสียใจจากการทำงานไม่สำเร็จก็เป็นสาเหตุของการสูญเสียได้เช่นกัน อาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น และทำให้พลาดโอกาสในการพบเจอสิ่งที่ดีๆอีกด้วย
โดย ไดแอน เทรซี่