กึ่งกลางประติมากรรมนูนสูงสลักภาพพระพุทธรูปยืน พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นแสดงปางประทานธรรม พระพุทธรูปยืนอยู่เหนือสัตว์ผสมชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า พนัสบดี ซึ่งแปลว่า เจ้าป่า เชื่อกันว่า พนัสบดี เป็นสัตว์ที่มีลักษณะผสมกันระหว่างพาหนะ ของเทพเจ้าสามองค์ในศาสนาฮินดู คือ มีเขาคล้ายโค พาหนะของ พระอิศวร มีปีกคล้ายหงส์ พาหนะของพระพรหม และมีจะงอยปากคล้ายครุฑ พาหนะของพระนารายณ์ ด้านขวาของพระพุทธรูปเป็นรูปบุคคลยืนถือแส้ ส่วนด้านซ้ายเป็นรูปบุคคลยืนถือฉัตร รูปบุคคลทั้งสองนี้อาจหมายถึงพระอินทร์และพระพรหมตามคติความเชื่อในพุทธ ศาสนานิกายเถรวาท
แนวคิดในการสร้างงานประติมากรรมลักษณะนี้ ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน เดิมเชื่อว่าสร้างขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นว่าศาสนาพุทธยิ่งใหญ่หรืออยู่เหนือ กว่าศาสนาฮินดู บางแนวคิดเชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงอยู่เหนือสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งนี้ยังมีอีกแนวคิดหนึ่งซึ่งเชื่อว่าประติมากรรมแบบนี้อาจเคยใช้ประดับบน ธรรมจักร โดยมีความหมายเกี่ยวกับแสงสว่างและการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร