อุทยานแห่งชาติปางสีดา เป็น “เมืองผีเสื้อของป่าตะวันออก”

เขียนโดย 


อุทยานแห่งชาติปางสีดา
มีพื้นที่กว่า 6 แสนไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นป่าเขาสลับซับซ้อน แต่เส้นทางที่สามารถเดินทางเข้าไปเที่ยวได้ ต้องใช้ถนนสายความมั่นคง ที่ตัดผ่าป่าเป็นหลัก เพราะรถยนต์สามารถเข้าถึง และต้องเดินเท้าเข้าไปอย่างน้อย 2 กม.ขึ้นไป ซึ่งก็ต้องไปนอนค้างแรมในป่าสัก 1-2 คืน ถึงจะได้ซึมซับธรรมชาติ

จังหวัดสระแก้ว เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติหลากหลาย ป่าเขาบนเทือกเขาดงพญาเย็นยังคงสภาพเป็นป่าต้นน้ำ เป็นแหล่งกำเนิดของลุ่มน้ำบางปะกง เทือกเขานี้เริ่มจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เชื่อมต่ออุทยานแห่งชาติทับลาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ และอีก 2 อุทยานที่อยู่ในจังหวัดสระแก้ว คือ อุทยานแห่งชาติปางสีดาและอุทยานแห่งชาติตาพระยา ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติและ ป่าไม้ ทำให้เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด รวมทั้งนกและแมลงอีกเป็นจำนวนมาก เป็นความหลากหลายทางชีวภาพที่หาดูได้ไม่ยากที่จังหวัดสระแก้ว

อุทยานแห่งชาติปางสีดา ได้รับการยอมรับจากนักดูผีเสื้อว่าเป็น อาจาจักรผีเสื้อแห่งผืนป่าตะวันออก เพราะที่นี่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของผีเสื้อที่มีความหลากหลายของเผ่าพันธุ์ เนื่องจากป่าที่นี่ยังคงความอุดมสมบูรณ์สูง ทำให้มีพืชอาหารของผีเสื้อจำนวนมาก จากการสำรวจมาตั้งแต่ปี 2545 พบผีเสื้อกลางวันไม่ต่ำกว่า 450 ชนิด หาชมได้ทั้งปีแต่ที่จะเป็นไฮไลท์ก็ช่วงหน้าร้อนหลังสงกรานต์ถึงปลายเดือน กรกฎาคมก่อนหน้าฝนนั่นเอง

หากเราเดินทางมาถึงด่านเก็บค่าธรรมเนียม แล้วขับรถตรงมาประมาณ 50 เมตรซ้ายมือ จะเป็น "ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวฯ" ที่คุณสามารถสอบถามข้อมูลอุทยานฯ การพักค้าง ติดต่อกางเต็นท์ เจ้าหน้าที่เดินป่า ส่องสัตว์ หรือจะจัดกิจกรรมต่างๆ ได้ที่นี่ ซึ่งแน่นอนมีนิทรรศการให้ข้อมูลการท่องเที่ยวในอุทยานฯแก่คุณมากมาย แล้วด้านหลังเป็น "ลานกางเต็นท์" ขนาดใหญ่

และถ้าขับรถเลยไปตามถนนราดยางอีก 800 ม. ก็จะเป็น "น้ำตกปางสีดา" น้ำตกยอดฮิตของนักท่องเที่ยวและชาวสระแก้ว เป็นน้ำตกเดียวที่จอดรถแล้วเดินลงไปหน่อยก็ถึงตัวน้ำตกเลย แต่หากจะเดินป่าระยะใกล้แถวนั้น มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ "น้ำตกผาตะเคียน"ที่ ต้องเดินเท้าไปประมาณ 2 กม.เป็นต้นน้ำตกปางสีดา อีกเส้นทางหนึ่งได้แก่ เส้นทาง"หัวใจดงพญาเย็น" ที่ขึ้นไปตามถนนแยกเข้าบ้านปางสีดา 1 และ 2 เลยลานรถน้ำตกปางสีดาไป 200 ม. แยกซ้ายมือเด็กๆก็สามารถเดินได้สบาย

จากจุดทางเข้าเส้นทางเดินป่า "หัวใจดงพญาเย็น" เลยไปบริเวณ กม.5 แยกซ้ายมือเดินเท้าเข้าไปประมาณ 2 กม.จะเป็น "ทุ่งหญ้าบุตาปอด" แหล่งอาหารของสัตว์ป่าโดยเฉพาะกระทิง มีหอส่องสัตว์ที่มาสามามองเห็นผืนป่าเขียวขจีไกลสุดตา ซึ่งหากใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อลุยเข้าไปอีกประมาณ 6 กม.ก็จะเป็น "น้ำตกลานหินดาด" จุดดูผีเสื้อที่ถือว่าสุดยอดจริงๆ ตามเส้นทางเราจะผ่านโป่งผีเสื้อที่เป็นน้ำซับ ที่ผีเสื้อนานาชนิดพร้อมใจกันลงกินโป่ง

บริเวณ กม.20 หรือหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ปด.5 เป็นลานกางเต็นท์ยอดนิยมของผู้ที่รักสันโดษ เพราะบนนี้ไม่มีเสียงโทรศัพท์มือถือให้หนวกหู มีแต่เสียงน้ำไหล ชะนี นกร้อง ความเงียบสงบ กลิ่นไอดิน หมอกยามเช้า แล้วยังมีศาลาโล่ง 2 หลังสำหรับคนที่ไม่อยากกางเต็นท์ให้ใช้บริการ ด้านหลังศาลามี "ห้วยน้ำเย็น"ไหลผ่าน ร่วมรื่น มีโป่งผีเสื้อให้ได้ดูด้วย

ขับรถเลยไปอีก 2 กม.แยกขวามือ เป็นจุดเริ่มต้นของคนชอบเดินป่าระยะใกล้ ซึ่งมีเป้าหมายเป็น "น้ำตกถ้ำค้างคาว" "น้ำตกลานแก้ว" "ธารพลับพลึง" "น้ำตกลานไผ่" ระยะทางตั้งแต่ 5-8 กม. แต่ที่ใกล้หน่อยก็เป็น "น้ำตกทับซุง" เพียง 1.5 กม.

"จุดชมวิว" กม.25 หากเดินเท้าเลยจุดนี้ไปหน่อย ตามถนนที่ถูกปกด้วยหญ้าและต้นไม้ จะมีผีเสื้อให้ได้ดูตลอดเส้นทาง ถึง กม.26

จุดดูผีเสื้อของปางสีดามี 7 จุดใหญ่ๆ คือ
1 รอบๆลานกางเต้นท์และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
2 ลานจอด ฮ. โป่งฝายน้ำล้น
3 ลานจอดรถของน้ำตกปางสีดา
4 ด่าน 2 หรือด่านตรวจสำหรับขึ้นไปจุดชมวิว
5 เส้นทางเดืนชมธรรมชาติบุตาปอด(ควรมีเจ้าหน้าที่นำทาง)
6 หน่วยปด.5 กม.20 (กางเต้นท์ได้)
7 ทางเดินป่าธรรมชาติเลยจุดชมวิว กม.25 ไปในป่า(ควรมีเจ้าหน้าที่นำทาง)

การดูผีเสื้อมีหลักง่ายๆ
1 ต้นฤดูฝน ให้ฝนตกลงมาให้ชุ่มฉ่ำซักเล็กน้อย
2 แสงแดดอ่อน ผีเสื้อของเล่นแดดยามเช้า
3 ความชุ่มชื้น ผีเสื้อชอบความชิ้น ตามชายป่า ริมน้ำ
4 ภูมิประเทศ ตามลานหิน โป่งทราย ริมน้ำลำธาร ใต้ต้นมะม่วง ขนุน ต้นไทร ตามใบไม้ใบหญ้าริมทาง

ชนิดของผีเสื้อที่จะพบในปางสีดา วงศ์หางติ่ง
วงศ์ผีเสื้อสีน้ำเงิน 1
วงศ์ผีเสื้อสีน้ำเงิน 2
วงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ 1
วงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ 2
วงศ์ผีเสื้อหนอนกระหล่ำ
วงส์ผีเสื้อบินเร็ว

ติดต่อสอบถามได้ที่... อุทยานแห่งชาติปางสีดา โทร.0-3724-377
สมาคมรักษ์ปางสีดา โทร.08-1429-2842
ททท.สำนักงานนครนายก โทร. 0-3731-2282, 0-3731- 2284 , 1672
ภาพ..แก้ว คอนคำ

 

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ วัน, วันที่ เดือน ปี ชม:นาที