จับตาเทรนด์แรงปี 58 'มัลติสกรีน-โมบายคอมเมิร์ซ'
- Suphan Click !!
- ผู้เขียนหัวข้อ
- ออฟไลน์
- COM_KUNENA_SAMPLEDATA_RANK_ADMIN
น้อย
เพิ่มเติม
- จำนวนโพสต์: 22
- ขอบคุณที่รับ: 1
9 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา - 9 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา #133
โดย Suphan Click !!
COM_KUNENA_MESSAGE_CREATED_NEW
โดย : รัตติยา อังกุลานนท์ ปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์
จากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยที่ขยายตัวต่อเนื่อง ปัจจุบันตัวเลขอยู่ที่กว่า 30 ล้านราย
ส่งผลให้สื่อออนไลน์กลายมาเป็น "สื่อหลัก" เข้าถึงผู้บริโภคในยุคนี้ ทำให้ "โซเชียล มีเดีย" มีบทบาทสำคัญต่อการสื่อสารแบรนด์ในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ปัจจัยการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและการขยายตัวของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคในปีนี้
ปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์ เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสาร กล่าวว่าทิศทางการสื่อสารการตลาดของแบรนด์ในปี 2558 ต้องสามารถปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมผู้บริโภคและความท้าทายใหม่ๆ ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวเป็นโอกาสของแบรนด์ที่จะขับเคลื่อนธุรกิจในเชิงบวก ด้วยการบริหารและจัดการกับข้อมูลที่มีมากมายมหาศาลให้เป็นประโยชน์ (Big Data to Smart Data) เพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด
โดยแบรนด์ต้องพัฒนาแคมเปญผ่านทุกช่องทางและใส่ใจกับความต้องการรับชมและดึงความสนใจผู้บริโภค เมื่อถูกแย่งไปสู่ช่องทางอื่นๆ ถือเป็นโอกาสของแบรนด์ในการทำตลาดที่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเป็นคนสำคัญ
แพลตฟอร์มที่มีบทบาทเด่นชัดในปีนี้ ยังคงเป็นสมารท์โฟนและทีวี ทั้งฟรีทีวี เคเบิล ทีวีดาวเทียมและทีวีดิจิทัล หลังจากเริ่มออกอากาศในเดือนเม.ย.ปี 2557 คาดว่าปีนี้สัดส่วนผู้ชมทีวีดิจิทัลจะมีส่วนแบ่ง 20% ของการรับชมทีวีทั้งหมด
ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคจะเข้าสู่ยุค"มัลติ สกรีน"ชัดเจนขึ้น ทำให้แบรนด์ต้องพัฒนาแคมเปญผ่านทุกช่องทาง โดยไม่ยึดติดสื่อทีวีเป็นช่องทางหลักอีกต่อไป
ดังนั้นความสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อเปลี่ยนข้อมูลให้สามารถเข้าถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค กลุ่มเป้าหมายเป็นสิ่งที่สำคัญและการใช้ข้อมูลที่ชาญฉลาดรวมถึงเครื่องมือที่มีศักยภาพในการคาดการณ์ผลลัพธ์ทางการตลาดและเพิ่มสัดส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุนให้สูงมากชึ้นกลายเป็นเป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญในปีนี้
ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในปี 2558 ยังคงเกิดขึ้นจากเทคโนโลยี ทั้งเรื่องความเร็ว ความหลากหลาย และความซับซ้อนในโลกดิจิทัล พฤติกรรมหลักที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ คือ ความต้องการแบบ "ที่นี่และเดี๋ยวนี้"
การมี "ตัวเลือกและเลือก", "ความจริงและความรู้สึก" ในทางกลับกันผู้บริโภคจะมีพฤติกรรมทั้ง ไม่พลาดการอัพเดท(FOMO) และ ไม่อยากอัพเดท (JOMO)ข้อมูลในโลกโซเชียล มีเดียไปพร้อมกัน ล้วนเป็นพฤติกรรมที่แบรนด์ต้องปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และต้องมีกลยุทธ์การสื่อสารเข้าถึงผู้บริโภคในยุคนี้
ยุคทอง'โมบายคอมเมิร์ซ'
จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าธุรกิจ "อีคอมเมิร์ซ" ไทยมีมูลค่ากว่า 744,419 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบีทูบี โดยเป็นธุรกิจที่กำลังอยู่ในกระแสความนิยมของผู้บริโภคและวงการการค้าโลก มีแนวโน้มเติบโตก้าวกระโดดในปีนี้
ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ตลาดดอทคอม กล่าวว่าจากจำนวนประชาชนออนไลน์ไทยกว่า 30 ล้านคนในปีที่ผ่านมาและยังเติบต่อเนื่องในปีนี้ เช่นเดียวกับโซเชียลมีเดีย อย่างเฟซบุ๊ค ที่มีคนไทยใช้งานกว่า 30 ล้านราย ทำให้นักการตลาดต้อง เปลี่ยนวิธีคิด และทำการตลาด โดยให้ความสำคัญกับการช่องทางออนไลน์มากขึ้น
แนวโน้ม"โซเชียล มีเดีย" กำลังจะก้าวสู่บิ๊กดาต้า ทำให้แบรนด์และนักการตลาดต้องเข้าใจและวิเคราะห์ "ลูกค้า" ผ่านข้อมูลโลกออนไลน์
จากปัจจัยทั้งด้านพฤติกรรมและเทคโนโลยีดังกล่าว ส่งผลให้ภาพรวมตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปี 2558 มีแนวโน้มขยายตัว 35-40% ต่อเนื่องจากปี 2557 ที่เติบโต 30-35% โดยมีมูลค่าเฉพาะค้าปลีกออนไลน์กว่า 1.5 หมื่นล้านบาท
ปัจจัยสำคัญผลักดันตลาดอีคอมเมิร์ซปีนี้ มาจากนโยบาย "ดิจิทัล อีโคโนมี" ของรัฐบาล ที่มุ่งพัฒนาตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐาน ปรับแก้กฎหมายและส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ ทั้งยังมีปัจจัยบวกอื่นๆ เช่น การเติบโตก้าวกระโดดของผู้ใช้สมาร์ทโฟน ปัจจุบันพบว่าหลายเว็บไซต์สัดส่วนการซื้อผ่านช่องทางมือถือกว่า 30-35% และมีโอกาสจะถึง 50% ภายใน 2 ปีจากนี้ นอกจากนี้ยังมีความพร้อมด้านระบบจ่ายเงินและโลจิสติกส์
โมบาย คอมเมิร์ซมีโอกาสเติบโตสูงและอีกไม่เกิน 3 ปี จะเกิดการค้าขายบนมือถือ 100%
"เราได้ก้าวเข้าสู่ยุคที่คนไทยในทุกชนชั้นใช้มือถือเป็นช่องทางหลักในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตแล้วกว่า 77% หลายคนเริ่มต้นใช้อินเทอร์เน็ตครั้งแรกผ่านมือถือ ซึ่งตัวเลขยังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง"
มุมมองของร้านค้าอีคอมเมิร์ซ พบว่าลูกค้ากำลังขยับจากการชอปปิงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ไปชอปปิงบนมือถือแทน ดังนั้นหากธุรกิจออนไลน์ยังไม่มีเว็บไซต์ที่มีหน้าที่รองรับขนาดของมือถือและยังไม่มีการตลาดที่เน้นให้คนเข้ามาทางมือถือโดยเฉพาะ อาจสูญเสียลูกค้าให้กับคู่แข่งได้ง่ายๆ ในปีนี้คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนร้านค้าปลีกที่จะลงทุนในเว็บไซต์ที่รองรับการใช้งานบนมือถือมากขึ้น จากการเติบโตที่รวดเร็วของ "เอ็ม คอมเมิร์ซ" และจะไปขับเคลื่อนการค้าครอบคลุมช่องทางทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่น่าประทับใจบนหลายแพลตฟอร์ม
อย่างไรก็ตามรูปแบบการทำการตลาดผ่าน Brand Awareness ในยุคนี้ไม่เพียงพอสำหรับธุรกิจ โดยจำเป็นต้องสร้างหน่วยงาน "อีคอมเมิร์ซ" เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าตั้งแต่การสร้างแบรนด์ สร้างยอดขาย และบริการซีอาร์เอ็มให้เกิดขึ้นครบวงจร เอเยนซีต้องทำหน้าที่บริหารแบรนด์ครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนสร้างการรับรู้ไปกระทั่งปลายทางที่การสร้างยอดขาย
ปี2558 ธุรกิจจะก้าวสู่อีคอมเมิร์ซและกลายเป็นช่องทางการค้าขายขนาดใหญ่ เชื่อมโยงสู่"เออีซี"ในทุกธุรกิจ โดยถือเป็นช่องทางสำคัญในยุคดิจิทัล
"มั่นใจว่าปีนี้ตลาดอีคอมเมิร์ซจะสดใสแน่นอน"
ชู'ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง'ปี58
การพัฒนาด้านเทคโนโลยีและการเข้าถึงข้อมูลอย่างไร้ขีดจำกัดในปัจจุบัน ส่งผลต่อพฤติกรรม "ผู้บริโภค" ให้มีความซับซ้อนมากขึ้น จากการเปิดรับข้อมูลหลากหลายช่องทาง อีกทั้งคาดหวังในทุกสิ่งสูงขึ้น
วฤตดา วรอาคม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านนวัตกรรม แมคแคน เวิล์ดกรุ๊ป กล่าวว่าท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล การที่ "แบรนด์" ทำอะไรแบบเดิมๆ อาจ "ไม่พอ"
ปี2558 ถือเป็นปีที่การทำตลาดต้อง"เข้มข้น" เพราะผู้บริโภคคาดหวังสูง เชื่อยาก ซื้อยาก ประกอบกับปัจจัยเศรษฐกิจทำให้ต้องชัดเจนและแข็งแรงในแง่กลยุทธ์ เข้าใจอินไซต์ผู้บริโภคก่อนว่าต้องการอะไรจากแบรนด์ บทบาทใหม่ของแบรนด์ไม่ใช่เพียง "ขายของ" ซึ่งนักการตลาดจะต้องชัดเจนในจุดยืนนี้
เทคโนโลยีผสมผสานรูปแบบ "มัลติ สกรีน" บวกกับการเข้าถึงของสมาร์ทโฟนในอัตราสูงขึ้น ทำให้การใช้สื่อต้องมีความชาญฉลาดมากขึ้น ไม่ใช่มองตัวเลขเพื่อการเข้าถึงอย่างเดียว หรือมุ่งแต่ "ขายของ" โดยไม่คำนึงถึงคุณค่าด้านอื่นๆ
"การใช้สื่อไม่ควรเป็นการสร้างมลภาวะในโลกของผู้บริโภค เช่นเดียวกับการใช้เทคโนโลยีที่ติดตามได้ อาจเป็นการสร้างความน่ารำคาญมากกว่าปิดการขาย"
ในมุมมองของ Digital Marketing ที่โซเชียล เน็ตเวิร์กกลายเป็นแพลตฟอร์มหลักทั่วโลก นักการตลาดต้องเปลี่ยนมุมมองว่า "โซเชียลไม่ใช่มีเดีย" และโซเชียลไม่ใช่พื้นที่โฆษณา โดยแบรนด์ต้องหาตัวตนและบทบาทให้ได้ในโลกออนไลน์
ในปีนี้ช่องทางการสื่อสารผ่าน Paid, Owned, Earned Media จะมีความสำคัญมากขึ้น ในขณะที่การซื้อสื่อ (Paid Media) ยังคงมีความสำคัญเพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้าง โดยกลยุทธ์จะต้องถูกจัดสรรเพื่อสร้างสมดุลกับ Owned และ Earned Media โดยยึดแกนหลักคือ "คุณภาพของประสบการณ์ที่มีความหมายต่อผู้บริโภค"
ทั้งนี้ บทบาทของแบรนด์ในความเป็นผู้สร้างสรร "คอนเทนท์" ที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคในหลากหลายมิติถือเป็นเทรนด์สำคัญ ในขณะที่ Content is king ขณะที่ Context is queen ต้องถูกวางกลยุทธ์อย่างเข้าถึงสถานการณ์ให้มากที่สุด ผ่านการสื่อสารแบบเรียลไทม์ ที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนของการสร้างประสบการณ์ให้ผู้บริโภค
ท่ามกลางพลังขับเคลื่อนในยุคโซเชียล "แบรนด์" จะต้องสร้างบุคลิกที่มีความเป็นคนสูง และใช้คำพูดเหมือนบทสนทนาให้ภาพลักษณ์ที่เป็นคนเหมือนๆกันกับผู้บริโภค และก่อให้เกิดความรู้สึกจริงและจริงใจ เพื่อให้แบรนด์เป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในยุคนี้
ที่มา...
www.bangkokbiznews.com/home/detail/busin...%B9%8C%E0%B8%8B.html
จากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยที่ขยายตัวต่อเนื่อง ปัจจุบันตัวเลขอยู่ที่กว่า 30 ล้านราย
ส่งผลให้สื่อออนไลน์กลายมาเป็น "สื่อหลัก" เข้าถึงผู้บริโภคในยุคนี้ ทำให้ "โซเชียล มีเดีย" มีบทบาทสำคัญต่อการสื่อสารแบรนด์ในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ปัจจัยการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและการขยายตัวของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคในปีนี้
ปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์ เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสาร กล่าวว่าทิศทางการสื่อสารการตลาดของแบรนด์ในปี 2558 ต้องสามารถปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมผู้บริโภคและความท้าทายใหม่ๆ ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวเป็นโอกาสของแบรนด์ที่จะขับเคลื่อนธุรกิจในเชิงบวก ด้วยการบริหารและจัดการกับข้อมูลที่มีมากมายมหาศาลให้เป็นประโยชน์ (Big Data to Smart Data) เพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด
โดยแบรนด์ต้องพัฒนาแคมเปญผ่านทุกช่องทางและใส่ใจกับความต้องการรับชมและดึงความสนใจผู้บริโภค เมื่อถูกแย่งไปสู่ช่องทางอื่นๆ ถือเป็นโอกาสของแบรนด์ในการทำตลาดที่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเป็นคนสำคัญ
แพลตฟอร์มที่มีบทบาทเด่นชัดในปีนี้ ยังคงเป็นสมารท์โฟนและทีวี ทั้งฟรีทีวี เคเบิล ทีวีดาวเทียมและทีวีดิจิทัล หลังจากเริ่มออกอากาศในเดือนเม.ย.ปี 2557 คาดว่าปีนี้สัดส่วนผู้ชมทีวีดิจิทัลจะมีส่วนแบ่ง 20% ของการรับชมทีวีทั้งหมด
ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคจะเข้าสู่ยุค"มัลติ สกรีน"ชัดเจนขึ้น ทำให้แบรนด์ต้องพัฒนาแคมเปญผ่านทุกช่องทาง โดยไม่ยึดติดสื่อทีวีเป็นช่องทางหลักอีกต่อไป
ดังนั้นความสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อเปลี่ยนข้อมูลให้สามารถเข้าถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค กลุ่มเป้าหมายเป็นสิ่งที่สำคัญและการใช้ข้อมูลที่ชาญฉลาดรวมถึงเครื่องมือที่มีศักยภาพในการคาดการณ์ผลลัพธ์ทางการตลาดและเพิ่มสัดส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุนให้สูงมากชึ้นกลายเป็นเป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญในปีนี้
ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในปี 2558 ยังคงเกิดขึ้นจากเทคโนโลยี ทั้งเรื่องความเร็ว ความหลากหลาย และความซับซ้อนในโลกดิจิทัล พฤติกรรมหลักที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ คือ ความต้องการแบบ "ที่นี่และเดี๋ยวนี้"
การมี "ตัวเลือกและเลือก", "ความจริงและความรู้สึก" ในทางกลับกันผู้บริโภคจะมีพฤติกรรมทั้ง ไม่พลาดการอัพเดท(FOMO) และ ไม่อยากอัพเดท (JOMO)ข้อมูลในโลกโซเชียล มีเดียไปพร้อมกัน ล้วนเป็นพฤติกรรมที่แบรนด์ต้องปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และต้องมีกลยุทธ์การสื่อสารเข้าถึงผู้บริโภคในยุคนี้
ยุคทอง'โมบายคอมเมิร์ซ'
จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าธุรกิจ "อีคอมเมิร์ซ" ไทยมีมูลค่ากว่า 744,419 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบีทูบี โดยเป็นธุรกิจที่กำลังอยู่ในกระแสความนิยมของผู้บริโภคและวงการการค้าโลก มีแนวโน้มเติบโตก้าวกระโดดในปีนี้
ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ตลาดดอทคอม กล่าวว่าจากจำนวนประชาชนออนไลน์ไทยกว่า 30 ล้านคนในปีที่ผ่านมาและยังเติบต่อเนื่องในปีนี้ เช่นเดียวกับโซเชียลมีเดีย อย่างเฟซบุ๊ค ที่มีคนไทยใช้งานกว่า 30 ล้านราย ทำให้นักการตลาดต้อง เปลี่ยนวิธีคิด และทำการตลาด โดยให้ความสำคัญกับการช่องทางออนไลน์มากขึ้น
แนวโน้ม"โซเชียล มีเดีย" กำลังจะก้าวสู่บิ๊กดาต้า ทำให้แบรนด์และนักการตลาดต้องเข้าใจและวิเคราะห์ "ลูกค้า" ผ่านข้อมูลโลกออนไลน์
จากปัจจัยทั้งด้านพฤติกรรมและเทคโนโลยีดังกล่าว ส่งผลให้ภาพรวมตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปี 2558 มีแนวโน้มขยายตัว 35-40% ต่อเนื่องจากปี 2557 ที่เติบโต 30-35% โดยมีมูลค่าเฉพาะค้าปลีกออนไลน์กว่า 1.5 หมื่นล้านบาท
ปัจจัยสำคัญผลักดันตลาดอีคอมเมิร์ซปีนี้ มาจากนโยบาย "ดิจิทัล อีโคโนมี" ของรัฐบาล ที่มุ่งพัฒนาตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐาน ปรับแก้กฎหมายและส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ ทั้งยังมีปัจจัยบวกอื่นๆ เช่น การเติบโตก้าวกระโดดของผู้ใช้สมาร์ทโฟน ปัจจุบันพบว่าหลายเว็บไซต์สัดส่วนการซื้อผ่านช่องทางมือถือกว่า 30-35% และมีโอกาสจะถึง 50% ภายใน 2 ปีจากนี้ นอกจากนี้ยังมีความพร้อมด้านระบบจ่ายเงินและโลจิสติกส์
โมบาย คอมเมิร์ซมีโอกาสเติบโตสูงและอีกไม่เกิน 3 ปี จะเกิดการค้าขายบนมือถือ 100%
"เราได้ก้าวเข้าสู่ยุคที่คนไทยในทุกชนชั้นใช้มือถือเป็นช่องทางหลักในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตแล้วกว่า 77% หลายคนเริ่มต้นใช้อินเทอร์เน็ตครั้งแรกผ่านมือถือ ซึ่งตัวเลขยังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง"
มุมมองของร้านค้าอีคอมเมิร์ซ พบว่าลูกค้ากำลังขยับจากการชอปปิงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ไปชอปปิงบนมือถือแทน ดังนั้นหากธุรกิจออนไลน์ยังไม่มีเว็บไซต์ที่มีหน้าที่รองรับขนาดของมือถือและยังไม่มีการตลาดที่เน้นให้คนเข้ามาทางมือถือโดยเฉพาะ อาจสูญเสียลูกค้าให้กับคู่แข่งได้ง่ายๆ ในปีนี้คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนร้านค้าปลีกที่จะลงทุนในเว็บไซต์ที่รองรับการใช้งานบนมือถือมากขึ้น จากการเติบโตที่รวดเร็วของ "เอ็ม คอมเมิร์ซ" และจะไปขับเคลื่อนการค้าครอบคลุมช่องทางทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่น่าประทับใจบนหลายแพลตฟอร์ม
อย่างไรก็ตามรูปแบบการทำการตลาดผ่าน Brand Awareness ในยุคนี้ไม่เพียงพอสำหรับธุรกิจ โดยจำเป็นต้องสร้างหน่วยงาน "อีคอมเมิร์ซ" เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าตั้งแต่การสร้างแบรนด์ สร้างยอดขาย และบริการซีอาร์เอ็มให้เกิดขึ้นครบวงจร เอเยนซีต้องทำหน้าที่บริหารแบรนด์ครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนสร้างการรับรู้ไปกระทั่งปลายทางที่การสร้างยอดขาย
ปี2558 ธุรกิจจะก้าวสู่อีคอมเมิร์ซและกลายเป็นช่องทางการค้าขายขนาดใหญ่ เชื่อมโยงสู่"เออีซี"ในทุกธุรกิจ โดยถือเป็นช่องทางสำคัญในยุคดิจิทัล
"มั่นใจว่าปีนี้ตลาดอีคอมเมิร์ซจะสดใสแน่นอน"
ชู'ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง'ปี58
การพัฒนาด้านเทคโนโลยีและการเข้าถึงข้อมูลอย่างไร้ขีดจำกัดในปัจจุบัน ส่งผลต่อพฤติกรรม "ผู้บริโภค" ให้มีความซับซ้อนมากขึ้น จากการเปิดรับข้อมูลหลากหลายช่องทาง อีกทั้งคาดหวังในทุกสิ่งสูงขึ้น
วฤตดา วรอาคม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านนวัตกรรม แมคแคน เวิล์ดกรุ๊ป กล่าวว่าท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล การที่ "แบรนด์" ทำอะไรแบบเดิมๆ อาจ "ไม่พอ"
ปี2558 ถือเป็นปีที่การทำตลาดต้อง"เข้มข้น" เพราะผู้บริโภคคาดหวังสูง เชื่อยาก ซื้อยาก ประกอบกับปัจจัยเศรษฐกิจทำให้ต้องชัดเจนและแข็งแรงในแง่กลยุทธ์ เข้าใจอินไซต์ผู้บริโภคก่อนว่าต้องการอะไรจากแบรนด์ บทบาทใหม่ของแบรนด์ไม่ใช่เพียง "ขายของ" ซึ่งนักการตลาดจะต้องชัดเจนในจุดยืนนี้
เทคโนโลยีผสมผสานรูปแบบ "มัลติ สกรีน" บวกกับการเข้าถึงของสมาร์ทโฟนในอัตราสูงขึ้น ทำให้การใช้สื่อต้องมีความชาญฉลาดมากขึ้น ไม่ใช่มองตัวเลขเพื่อการเข้าถึงอย่างเดียว หรือมุ่งแต่ "ขายของ" โดยไม่คำนึงถึงคุณค่าด้านอื่นๆ
"การใช้สื่อไม่ควรเป็นการสร้างมลภาวะในโลกของผู้บริโภค เช่นเดียวกับการใช้เทคโนโลยีที่ติดตามได้ อาจเป็นการสร้างความน่ารำคาญมากกว่าปิดการขาย"
ในมุมมองของ Digital Marketing ที่โซเชียล เน็ตเวิร์กกลายเป็นแพลตฟอร์มหลักทั่วโลก นักการตลาดต้องเปลี่ยนมุมมองว่า "โซเชียลไม่ใช่มีเดีย" และโซเชียลไม่ใช่พื้นที่โฆษณา โดยแบรนด์ต้องหาตัวตนและบทบาทให้ได้ในโลกออนไลน์
ในปีนี้ช่องทางการสื่อสารผ่าน Paid, Owned, Earned Media จะมีความสำคัญมากขึ้น ในขณะที่การซื้อสื่อ (Paid Media) ยังคงมีความสำคัญเพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้าง โดยกลยุทธ์จะต้องถูกจัดสรรเพื่อสร้างสมดุลกับ Owned และ Earned Media โดยยึดแกนหลักคือ "คุณภาพของประสบการณ์ที่มีความหมายต่อผู้บริโภค"
ทั้งนี้ บทบาทของแบรนด์ในความเป็นผู้สร้างสรร "คอนเทนท์" ที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคในหลากหลายมิติถือเป็นเทรนด์สำคัญ ในขณะที่ Content is king ขณะที่ Context is queen ต้องถูกวางกลยุทธ์อย่างเข้าถึงสถานการณ์ให้มากที่สุด ผ่านการสื่อสารแบบเรียลไทม์ ที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนของการสร้างประสบการณ์ให้ผู้บริโภค
ท่ามกลางพลังขับเคลื่อนในยุคโซเชียล "แบรนด์" จะต้องสร้างบุคลิกที่มีความเป็นคนสูง และใช้คำพูดเหมือนบทสนทนาให้ภาพลักษณ์ที่เป็นคนเหมือนๆกันกับผู้บริโภค และก่อให้เกิดความรู้สึกจริงและจริงใจ เพื่อให้แบรนด์เป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในยุคนี้
ที่มา...
www.bangkokbiznews.com/home/detail/busin...%B9%8C%E0%B8%8B.html
ไฟล์ที่แนบมาด้วย:
Last edit: 9 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา by Suphan Click !!. เหตุผล: ภาพผิด
การเข้าถึงฟอรั่ม
- อนุญาตให้: การสร้างหัวข้อใหม่
- อนุญาตให้: ตอบ
- ไม่อนุญาต: to add Images.
- ไม่อนุญาต: to add Files.
- ไม่อนุญาต: การแก้ไขข้อความของคุณ
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.134 วินาที