สถาบันระหว่างประเทศฯ แนะAEC ควรดู EU เป็นตัวอย่าง

9 ปี 6 เดือน ที่ผ่านมา #136 โดย สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและกา
COM_KUNENA_MESSAGE_CREATED_NEW
ดร.สมบูรณ์ เสงี่ยมบุตร อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) กล่าวว่า การเปิดประชาคมอาเซียนหรือ AEC ควรดูสหภาพยุโรป (EU) เป็นตัวอย่าง เนื่องจากสหภาพยุโรป (EU) สามารถทำประโยชน์ให้กับประเทศที่เป็นสมาชิกทุกประเทศ โดยประเทศที่เข้ามาใหม่ หรือประเทศที่ด้อยกว่าจะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ แต่ประเทศที่มีความก้าวหน้ากว่าจะต้องแบ่งผลประโยชน์ให้กับประเทศที่ด้อยกว่า หากอาเซียนจะยึดสหภาพยุโรปเป็นตัวอย่าง จะต้องมีแนวทางที่ไปทางเดียวกับสหภาพยุโรป เพราะการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศของสมาชิกสหภาพยุโรป จะไม่มีด่านศุลกากร ทำให้ประหยัดเวลา ลดต้นทุน ลดแรงงานคน และลดเจ้าหน้าที่ศุลกากร สำหรับคนของประเทศสมาชิกสามารถไปทำงานในประเทศที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรปได้โดยไม่ต้องมีการขออนุญาตกรณีพิเศษ หรือในแง่การประกอบธุรกิจก็สามารถไปตั้งร้านหรือกิจการได้แบบไม่มีปัญหาและอุปสรรค ดังนั้นประชาคมอาเซียนควรดูทิศทางว่าจะนำตัวอย่างมาใช้อย่างไร แต่ถ้าจะทำเหมือนสหภาพยุโรปใน 10 ประเทศของอาเซียน คงทำได้ยาก เพราะว่าในอาเซียนมีประเทศอินโดนีเซียที่มีประชากร 250 ล้านคน และยังมีประเทศเมียนมาร์ สปป.ลาว กัมพูชา ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าประเทศอาเซียนอื่นๆ หากประเทศไทยจะทำให้ประชาคมอาเซียนประสบความสำเร็จ ควรหาวิธีการที่จะทำให้เกิด AEC ในระดับกลุ่มเล็ก เช่น การสร้าง AEC ระหว่างไทยกับลาว หรือ ไทยกับกัมพูชา เป็นคู่กัน เพราะประเทศไทยมีศักยภาพที่จะสามารถเกื้อกูล สปป.ลาวหรือกัมพูชาได้ เมื่อประเทศอื่นเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จะมีการสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกภายหลัง โดยจะต้องใช้วิธีเดียวกันกับสหภาพยุโรปที่ประสบผลสำเร็จ โดยมีการแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับประเทศที่มีเศรษฐกิจต่ำกว่า หรือจะใช้วิธีการเดียวกับที่สวิตเซอร์แลนด์กับลิกเตนสไตน์ใช้ คือการเก็บค่าด่านศุลกากรร่วมกัน แล้วมาแบ่งกันระหว่างสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ โดยแบ่งตามจำนวนประชากรสวิตเซอร์แลนด์ที่มี 6-7 ล้านคน จะได้มากกว่าลิกเตนสไตน์ตามจำนวนประชากรที่มีประมาณ 200,000 คน
หากประเทศไทยทำตามอย่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์กับประเทศลิกเตนสไตน์ที่มีการเก็บภาษีร่วมกัน หรือการดำเนินแนวทางเหมือนสหภาพยุโรป เมื่อประเทศสมาชิกอาเซียนเห็นผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น ในอนาคตอาจมีการร่วมมือระหว่างประเทศในด้านต่างๆมากยิ่งขึ้น และมีการพัฒนาต่อไปในประชาคมอาเซียน ถือเป็นความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จจากการแบ่งปันกัน
  • อนุญาตให้: การสร้างหัวข้อใหม่
  • อนุญาตให้: ตอบ
  • ไม่อนุญาต: to add Images.
  • ไม่อนุญาต: to add Files.
  • ไม่อนุญาต: การแก้ไขข้อความของคุณ
เวลาที่ใช้ในการสร้างหน้าเว็บ: 0.117 วินาที