ใครที่ปลูกพืชผัก ในช่วงฤดูหนาว ต้องระวังโรคพืชและแมลงศัตรู พืช เหล่านี้ เช่น หนอนคืบกะหล่ำ (หนอนคืบเขียวหรือหนอนเขียว), หนอนใยผัก(ตัวบิน, ตัวจรวด), ด้วงหมัดผัก(หมัดผัก, หมัดกระโดด, ตัวกระเจ๊า), โรคราน้ำค้าง, โรคราแป้งในกุหลาบ และโรคราสนิมของเบญจมาศตัดดอก เป็นต้น
ฤดูหนาวพวกผักกินใบจะงอกงามเป็นอย่างดีแต่อากาศจะแห้งแล้งหนาวเย็นแมลงต่างจะระบาดอย่างรวดเร็วซึ่งแมลงที่ต้องระวังมีดังนี้
หนอนคืบกะหล่ำ บางแห่งเรียกว่า หนอนคืบเขียว หรือหนอนเขียว เป็นศัตรูสำคัญของผัก ตระกูลกะหล่ำ โดยเฉพาะผักคะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักกาดขาว ผักตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลันเตา ตัวหนอนมีสีเขียวอ่อน จะกัดกินใบใช้เชื้อราบิวเวอเรียกำจัดหนอนใยผัก หรือที่เรียกว่า ตัวบิน, ตัวจรวด เป็นศัตรูกับผักตระกูล กะหลํ่าและผักกาด ใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลันส ธูรินจิเอนซัส ที่มีชื่อทางการค้าว่าอาร์โกนา, ธูริไซด์,แบคโตสบิน ซึ่งเป็นผงผสมน้ำในอัตรา 15-30 กรัม/นํ้า 20 ลิตร ฉีดพ่น ในตอนเย็นขณะหนอนกำลังกัดกินอยู่ ถ้าจะให้ติดดีผสมสารจับใบลงไปด้วย ฉีด 3 -5 วันครั้งในระยะที่หนอนระบาด ยานี้เป็นสารที่ปลอดภัยไม่เป็นพิษต่อแมลงศัตรูธรรมชาติ เหมาะที่จะใช้กับพืชผักโดยเฉพาะในระยะเก็บเกี่ยว เชื้อชนิดนี้ใช้กำจัดหนอนใยผัก และหนอนคืบกะหล่ำเท่านั้น ไม่ควรใช้ในท้องถิ่นที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและผึ้งด้วงหมัดผัก หรือหมัดผัก, หมัดกระโดด, ตัวกระเจ๊า เป็นศัตรูของผักกะหลํ่าและผักกาด ตัวอ่อนชอบกินรากหรือหัวในดิน ตัวเต็มวัยจะกัดกินใบจนพรุน ชอบทำลายพิเศษในผักจำนวนที่มีกลิ่นฉุน ใช้เซฟวิน 85 85 % แบบผงผสมนํ้า 20-30 กรัม หรือเซฟวิน 50 % แบบผสมน้ำ 35-45 กรัมโดยผสมกับน้ำ 20 ลิตร สารพวกนี้ เหมาะกับด้วงหมัดผักที่ไม่ดื้อยา ฉีดพ่น 5-7 วันครั้ง เว้นระยะปลอดภัยก่อนเก็บเกี่ยว 5-7 วันโรคราน้ำค้าง ที่มักพบในกลุ่มพืชจำพวกแตง พืชในตระกูลผักกะหล่ำ องุ่น รวมถึงข้าวโพดหวานโรคราแป้งในกุหลาบ มีลักษณะอาการคือ มีเชื้อราสีขาวลักษณะคล้ายแป้ง เกิดปกคลุมผิวใบ และอาจขยายลุกลามปกคลุมกิ่งและลำต้น ทำให้ใบเหลือง ต่อมากลายเป็นสีน้ำตาลใบและกิ่งแห้ง
ส่วนการป้องกันทำโดย เมื่อเริ่มพบอาการของโรค ให้พ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดโนแคป เบโนมิล ไตรฟลอรีน หรือพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทกำมะถันผงโดยเป็นชนิดละลายน้ำได้เพื่อ ฆ่าเชื้อ แต่กำมะถันมีข้อจำกัด เนื่องจากใช้แล้วจะทำให้ใบร่วง เมื่อแตกใบใหม่จะไม่มีโรค ดังนั้นพืชจำพวกใบนิ่มไม่ควรใช้ ถ้าเป็นในผักก็ใช้ได้ในบางชนิดเท่านั้นโรคราสนิมของเบญจมาศตัดดอก มีลักษณะอาการคือ ด้านบนใบเป็นจุดสีเหลืองอ่อน เมื่อพลิกดูด้านหลังใบจะเป็นตุ่มแผลนูน มีผงสีขาวอมเหลืองและสีเทา ใบมีลักษณะพองหรือบิดเบี้ยว ถ้าเป็นกับดอกตูมจะทำให้กลีบเลี้ยงและกลีบดอกแห้ง ไม่คลี่บาน
ข้อมูล: เรียนเกษตรง่ายๆกับครูชาตรี
จาก มติชนออนไลน์