“รู้สึกตัวเท่ากับมีสติ”

เขียนโดย 

 

“เพียงการฝึกฝนช่วงสั้น ๆ เช่นนั่งภาวนา (นั่งสมาธิ) 30 นาทีต่อวัน ก็สามารถชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมองที่ตรวจพบได้ด้วยการสแกนสมอง”

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสมองส่วนต่าง ๆ คือ
การหนาตัวขึ้นของเนื้อสมองในบริเวณต่าง ๆ ต่อไปนี้ Anterior Cingulate Cortex มีผลต่อการควบคุมตนเองให้อยู่กับสิ่งที่ทำ เลือกที่จะใส่ใจกับสิ่งเร้า ความคิด ความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับงานหรือสิ่งที่กำลังทำอยู่ ไม่ว่อกแว่กง่ายPrefrontal Cortex ทำให้ความสามารถในการวางแผน การแก้ปัญหา และการตัดสินใจดีขึ้นHippocampus เป็นส่วนหนึ่งของสมองที่เกี่ยวกับการควบคุม และจัดการกับอารมณ์พื้นฐาน(ความกลัว ความกังวล) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจดจำและการเรียนรู้

ลดขนาดของ amygdala ซึ่งเป็นศูนย์ที่ทำงานในสภาวะที่ต้องต่อสู้ หรือหนีการเชื่อมต่อขอสมองส่วนต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงในทิศทางสร้างปัญหาน้อยลง เช่น การเชื่อมต่อระหว่าง amygdala กับ prefrontal cortex ลดลง ทำให้ในภาวะฉุกเฉิน สมองส่วน prefrontal cortex ไม่ถูกอิทธิพลของความกลัวมากเกินไป ทำให้สามารถเผชิญปัญหา หรือภาวะฉุกเฉินได้ดีลดการทำงานของสมองส่วนที่ทำให้เกิดความเป็น “ฉัน”

อย่าลืม ดูแลจิตใจกันบ้าง
วัน ๆ มีเรื่องกระทบใจมากมาย ถ้าไม่มีสติ ใจเราก็จะหลงไปกับกิเลสคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง แล้วก็นำทุกข์มาให้ พอทุกข์ใจแทนที่เราจะดูแลจิตใจ กับใช้วิธีแสวงหาอะไรมาสร้างเกิดความหลงพอใจอีก เช่น เบื่อก็หาอะไรกิน หงุดหงิดก็หาอะไรกิน เซ็งก็หาอะไรกิน อย่างนี้ก็โรคอ้วนถามหา ไม่หาอะไรกินก็ต้องหาอะไรทำ เล่น line facebook ท่องเน็ต เพลินไปเสียงานเสียการ ทำงานไม่เสร็จ เครียดอีก ไม่ว่าจะเผลอไปกับความพอใจหรือความไม่พอใจจนลืมสิ่งที่ถูกที่ควรล้วนนำทุกข์ มาให้ในที่สุด

ข้อแนะนำเวลาที่มีอะไรมากระทบใจ แล้วเกิดเผลอไปแล้วเกิดความทุกข์ ให้หยุดนิ่ง ๆ อยู่กับตัวเอง หายใจเข้า-ออก ช้า ๆ สังเกตความรู้สึกที่มีลมเข้า ลมออก หยุดคิด หยุดนึก หยุดปรุงแต่ง อยู่กับลมหายใจไปสบาย ๆ สักครู่ใจจะค่อย ๆ ผ่อนคลาย หลังจากนั้นจึงทำงานต่อไป

ระวังอย่าอยากหายทุกข์ อย่าอยากหายเบื่อ หายเซ็ง หายเศร้า เพราะยิ่งไม่หาย ให้ยอมรับก่อนว่า มีความเบื่อ เซ็ง เศร้าเกิดขึ้นในใจแล้ว เป็นธรรมดา ไม่โทษตัวเอง ไม่ต้องไปอธิบาย หาเหตุหาผล อยู่กับลมหายใจลูกเดียว อยู่บ้างไม่อยู่บ้างถูกต้องแล้วนะครับ ไม่ต้องไปบังคับเอาให้อยู่ ไม่อยู่ง่าย ๆ ให้มันเป็นของมัน เพียงเราแค่สังเกต รู้ทันเท่านั้น

ความจริงแห่งชีวิต………มันเป็นเช่นนี้เอง
นี่คือความจริงของชีวิต มีอะไรที่ไม่เป็นอย่างที่เราคิด เราคาดหวัง เราอยากได้เยอะแยะมากมาย
ท่านเตรียมพร้อมสำหรับความจริงแห่งชีวิตหรือยัง
ท่านได้กลับมาดูแลเอาใจใส่จิตใจของตัวเองเพื่อให้พร้อมรับความจริงแห่งชีวิต บ้างหรือยัง อย่าแค่อ่านแค่ Like แค่ Share เท่านั้น ไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ถ้าไม่ฝึกฝนเรียนรู้ให้เกิดความพร้อมขึ้นในใจของเราเอง

วิธีรักษาจิต
จิตโดยธรรมชาติผ่องใส จะมัวหมองก็เพราะกิเลสที่จรมา ลำพังกิเลสที่จรมาทำอะไรจิตไม่ได้ถ้าจิตไม่หลง วิธีรักษาจิตก็คือ ฝึกฝนให้จิตหลงสั้นลง ที่บอกว่าหลงสั้นลงเพราะ แรกๆยังไม่เคยฝึกฝนจิตจะหลงตลอดทั้งวัน หาเวลาที่จิตไม่หลงได้น้อยมาก เมื่อรู้ตัวว่าหลง ก็หมายความว่าตัดความหลงให้สั้นลง สมมุติว่าเดิมไม่เคยฝึกมาหลงตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ตั้งแต่ตื่นจนเข้านอนหลงตลอด คือมีเรื่องราวปรากฏในรูปของความคิดนึก ความรู้สึก ต่อเนื่องจากเรื่องนี้ไปเรื่องนั้น ไม่มีช่วงที่รู้สึกตัวเลย พอเริ่มฝึกรู้ตัวได้ครั้งหนึ่ง ภาวะที่จิตหลงไปกับเรื่องราวก็ถูกแบ่งเป็นสองท่อน ไม่ต่อเนื่อง ฝึกไปเรื่อยๆ รู้ตัวบ่อยขึ้น ภาวะจิตหลงก็จะถูกแบ่งเป็นช่วง เป็นช่วง ยิ่งรู้ตัวบ่อยเท่าไหร่ เวลาที่หลงก็จะเป็นช่วงสั้นลงๆ เราจะพบว่าวันๆหนึ่งหลงบ่อยมาก บางคนหลงคิดว่า ยิ่งฝึกยิ่งแย่เพราะเดิมไม่หลง ตอนนี้หลงบ่อยวันหนึ่งหลงหลายครั้งมาก ที่จริงแล้วการพบว่า หลงบ่อยๆ เป็นผลของการฝึกจนจิตระลึกรู้ภาวะหลงได้เร็วขึ้น คือพัฒนาขึ้นไม่ใช่แย่ลงอย่างที่เข้าใจ

รู้ว่าหลงบ่อยแล้วได้อะไร
รู้ว่าหลงบ่อยๆแล้วจะได้อะไรนั้น ตอบแบบนักปฏิบัติคือ “ได้รู้” ว่าหลง ไม่มีอะไรมากกว่า ไดู้รู้ ส่วนรู้แล้วผลที่ตามมาเป็นอย่างไรนั้น ตอบสั้นๆ เป็นผลดีแน่นอน ไม่มีเสีย เมื่อใดก็ตามรู้ว่าหลง จิตก็พ้นจาก”ภาวะหลง”เปลี่ยนเป็น”ภาวะรู้” ภาวะรู้นี้เป็นกุศล รู้บ่อยๆจิตก็เป็นกุศลบ่อยๆ การพูด ทำ คิด ก็จะดีเป็นกุศลไปด้วย นักปฏิบัติไม่ได้มุ่งหวังเอากุศล หรืออะไรทั้งนั้น แค่รู้อยู่เท่านั้น

ที่มา: http://www.mindful.org/how-the-brain-changes-when-you-meditate/

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ วัน, วันที่ เดือน ปี ชม:นาที