ดองดึง

เขียนโดย 

 

"ดองดึง" หลายคนคงคุ้นตากับดอกไม้สวยแปลกตานี้ ในจังหวัดสุพรรณบุรีเราจะสามารถพบเห็นเจ้าดอกนี้มีอยู่ทั่วไป ตามที่โล่ง ชายป่า และดินปนทราย หรือดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ เช่นโดยปกติแล้วจะนิยมปลูกไว้เพื่อเป็นไม้ประดับ แต่ก็มีนำมาทำเป็นยาสมุนไพรเช่นกัน โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรก็ได้แก่ ส่วนหัว แป้งที่ได้จากหัว เมล็ด และราก

ดาวดึงส์ ดองดึง หัวขวาน หัวฟาน พันมหา ก้ามปู ต้นไม้ชนิดนี้เป็นพรรณไม้เถา มีหัวหรือเหง้าใต้ดิน ดอกคล้ายกับหัวขวานหรือฝักกระจับ สีสวยสะดุดตา พืชชนิดนี้จัดเป็นเครื่องยาในตำรับยาแผนไทยหลายขนาน ได้แก่ยาสามัญประจำบ้านแผนไทยตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เช่น ตำรับยากษัยเส้น หรือยาแก้ปวดเมื่อย เป็นต้น แต่การใช้ต้องใช้โดยผู้ที่มีความรู้เท่านั้นและใช้อย่างระมัดระวัง โดยสรรพคุณทางด้านแพทย์แผนไทยมีดังนี้ หัวมีรสร้อน เมา แก้โรคเรื้อน แก้แมลงสัตว์กัดต่อย หัวสดตำพอกหัวเข่า แก้ปวดข้อ แก้ปวดกล้ามเนื้อ ฟกบวม

ดองดึง เป็นไม้เถาล้มลุกมีความยาวได้ถึง 5 เมตร มีอายุหลายปี มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดินทรงกระบอกโค้ง มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับหรือเรียงเป็นวงรอบข้อ 1-3 ใบ ใบคล้ายรูปหอกยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลมงอเป็นมือเกาะไม่มีก้าน ส่วนลักษณะของผลดองดึงจะเป็นรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร แตกตามรอยประสาน มีเมล็ดกลมๆ สีแดงส้มจำนวนมาก

ลักษณะของดอกดองดึง จะเป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ ดอกด้านบนมีสีแดง ด้านล่างมีสีเหลือง หรือจะเป็นสีเหลืองซีดอมเขียว หรือเป็นสีแดงทั้งดอกก็มี ดอกยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 5 เซนติเมตร มีเกศรตัวผู้ 6 อัน มีก้านยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร อับเรณูจะยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนเกสรตัวเมียจะยาวประมาณ 0.3-0.7 เซนติเมตร แยกเป็น 3 แฉก

ดองดึงมีสรรพคุณ  ในการรักษาอาการปวดข้อได้เป็นอย่างดี และยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ ซึ่งสามารถนำไปรักษาโรคมะเร็งได้ และสารชนิดนี้ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซม ที่มีการนำไปใช้ผสมพันธุ์ให้กับพืช เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่

สรรพคุณของดองดึง
-ดองดึงสมุนไพรที่สามารถใช้รักษาโรคมะเร็งได้
-ช่วยลดเสมหะ แก้เสมหะ (ราก,หัว)
-ใช้รับประทานแก้ลมพรรดึก (ราก,หัว)
-ช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ ด้วยการใช้หัวดองดึงนำมาต้มแล้วรับประทานแก้อาหาร (ราก,หัว)
-ช่วยขับลมในกระเพาะ ด้วยการใช้หัวแห้งนำมาปรุงเป็นยารับประทาน (ราก,หัวแห้ง)
-ช่วยรักษากามโรค ด้วยการใช้หัวแห้งนำมาปรุงเป็นยารับประทาน (หัวแห้ง)
-ช่วยแก้โรคหนองใน (แป้งที่ได้จากหัวหรือราก)
-ช่วยรักษาบาดแผล (ราก,หัว)ใช้ทาแก้โรคผิวหนัง (ราก,หัว)
-ช่วยรักษาโรคเรื้อน ด้วยการใช้หัวแห้งนำมาปรุงเป็นยารับประทาน (ราก,หัวแห้ง)
-ช่วยรักษาโรคคุดทะราด หรือโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นแผลตามผิวหนัง (ราก,หัว)
-หัวและรากนำมาฝนใช้ทาแก้พิษงู พิษแมลงป่อง ตะขาบกัด (ราก,หัว)
-หัวดองดึงเมื่อนำมาตำแล้วใช้ทาจะมีสรรพคุณแก้อาการปวดข้อ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ
-ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้อีกด้วย (หัว)
-ช่วยแก้อาการหัวเข่าปวดบวมได้เป็นอย่างดี (ราก,หัว)
-ช่วยรักษาโรคลมจับโปง หรือโรคปวดเข่า (ราก,หัว)
-ช่วยรักษาโรคลมเข้าข้อ หรือรูมาติซั่ม (ราก,หัว)
-ช่วยขับพยาธิ สำหรับสัตว์พาหนะ (ราก,หัว)
-มีการใช้เหง้าหรือหัวดองดึงมาสกัดสารและทำเป็นยาเม็ดไว้สำหรับรักษาโรคเกาต์หรืออาการปวดข้อ (Gout)
-สารสกัดจากหัวและรากใช้สำหรับการเปลี่ยนแปลงพันธุ์พืช เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ (ราก,หัว)
 
 
โทษของดองดึง
แม้สารโคลชิซีน (Colchicine) จะมีประโยชน์แต่ก็ยังมีผลเสียต่อการแบ่งตัวของเซลล์ และยังเป็นพิษต่อทางเดินอาหาร เมื่อได้รับสารชนิดนี้เข้าไปในร่างกายในปริมาณมาก หรือประมาณ 3 มิลลิกรัม อาการเป็นพิษก็จะแสดงออกมาหลังจากนั้นประมาณ 2 ชั่วโมง โดยจะมีอาการแสบร้อนในปากและลำคอ ทำให้คอแห้ง กระหายน้ำ รู้สึกเหมือนหายใจไม่ออก มีอาการเจ็บปวดตามตัว ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ คลื่นหัวใจผิวปกติจนวัดไม่ได้ อาจจะมีอาการไตวายเฉียบพลัน ปากและผิวหนังชา กลืนไม่ลง มีอาการชัก อุจจาระร่วง อย่างแรง อุจจาระมีเลือดปนปวดท้องปวดเบ่ง ถ่ายจนไม่มีอุจจาระ มีอาการคลื่นไส้ ปั่นป่วนในท้องและอาเจียนอย่างรุนแรง ทำให้ร่างกายเสียน้ำมาก และอาจส่งผลทำให้หมดสติได้ในที่สุด

หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน อาจเสียชีวิตได้ภายใน 3-20 ชั่วโมง โดยอุณหภูมิของร่างกายก็จะต่ำลงและเสียชีวิตในที่สุด ฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ของสารโคลชิซีน หลังจากได้รับพิษเข้าไปประมาณ 10 ชั่วโมงจะเป็นช่วงที่มีอาการหนักสุด การขับถ่ายสารพิษออกจการ่างกายก็จะเป็นไปอย่างช้าๆ พิษของสารชนิดนี้เกิดจากการรับประทานเข้าไปแต่ละครั้ง ก็จะถูกสะสมไว้ในร่างกาย และปะปนออกมากับน้ำนมของสัตว์ที่ได้สารนี้เข้าไปด้วย ซึ่งจะเป็นพิษกับคนที่กินนมเข้าไปด้วย และนอกจากนี้สารโคลชิซีนก็ยังเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคอีกหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นอหิวาตกโรค (Cholera), โรคบริแกตดีซีส (Bright's disease), โรคที่เกิดจากการติดเชื้อ (Typhus), อาการระคายเคืองผิวหนัง (Skin complaints), อาการปวดท้องอย่างรุนแรง (Colic) เป็นต้น

.......................................
แหล่งอ้างอิง : สุดยอดสมุนไพรธรรมชาติที่ควรรู้ ศักดิ์ บวร สมิต,สนพ. ปีที่พิมพ์ มค.2543,
www.rspg.or.th, ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, สำนักงานข้อมูลสมุนไพรมหาวิทยาลัยมหิดล
เรียบเรียงโดย...www.suphanclick.com
ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ วัน, วันที่ เดือน ปี ชม:นาที