ทำไม ยาคูลย์ มีขนาดเดียว 80 cc. และ ไม่มีขายที่ 7-11 หรือห้างสรรพสินค้า

เขียนโดย 


เคยสงสัยกันไหมว่าทำไม ยาคูลย์ ถึงผลิตขนาดเดียว และไม่มีขายที่ร้านสะดวกซื้อ 7-11 หรือห้างสรรพสินค้า ซึ่งทำให้คนที่จะดื่มลำบากมากเลยในการซื้อ วันนี้เราจะมาเฉลยกัน

ยาคูลท์เป็นผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวที่ได้จากการหมัก โดยเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นแบคทีเรีย ชื่อ แลคโตบาซิลลัส ที่ทำให้เกิดรสชาติเปรี้ยว เนื่องจากเกิดกรดขึ้นมาหลายชนิดระหว่างกระบวนการหมัก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรดแลคติก ปัจจุบันใช้เชื้อชื่อ Lactobaciius Balgaricu ร่วมกับ Stroptcoccus themophilus ในอุตสาหกรรมผลิตนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต

ทำไมยาคูลท์ผลิตขนาดเดียว คือ 80 cc.?
– เพราะถ้าเราได้รับเชื้อจุลินทรีย์แลตโตบาซิลัสมากเกินไป จะทำให้ท้องเสียได้ ทางบริษัทจึงจำหน่ายเพียงขนาดเดียว ที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย โดยสังเกตข้างขวดที่เขียนไว้ว่า มีเชื้อแลคโตบาซิลลัส 8.0 x 10 (ยกกำลัง 9)

ทำไมยาคูลท์ถึงไม่มีจำหน่ายตามร้านสะดวกซื้อ 7-11 และห้างสรรพสินค้า
– ทางผู้บริหารของยาคูลย์ได้ให้เหตุผลว่า ที่ไม่ยอมวางจำหน่ายสินค้าตามห้างสรรพสินค้า แต่เลือกที่จะให้สาวยาคูลย์เป็นตัวแทนจำหน่ายนั้นก็เพราะ กระบวนการผลิตไม่เพียงพอต่อลูกค้า และเพื่อเป็นการรักษานโยบายในการเลี้ยงพนักงาน ไม่ให้สาวยาคูลท์ต้องตกงานอีกด้วย เพราะฉะนั้นเราจึงควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากไป ไม่น้อยไป เพื่อปรับสมดุลของร่างกายด้วย.

ต้นกำเนิดและประวัติของยาคูลท์
จาก "ทฤษฎีการมีสุขภาพที่ดี และอายุยืนยาว" ของ ดร. เอไล แมทชนิคอฟฟ์ สู่แนวความคิดที่ว่า "ลำไส้ที่สมบูรณ์แข็งแรงเป็นหนทางสู่การมีอายุยืนยาว" ของดร. มิโนรุ ชิโรต้า

เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1900 นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ชื่อ ดร. เอไล แมทชนิคอฟฟ์ (มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1845 - 1916) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเคล็ดลับของการมีอายุยืนยาว โดยเขาได้ตั้งข้อสังเกตว่าความไม่สมบูรณ์ทางสุขภาพของคนเรานั้นน่าจะเกิดจาก การบูดเน่า และสารพิษต่างๆ ที่มาจากการกระทำของแบคทีเรียในลำไส้ ในขณะที่เขาทำการศึกษาและทำวิจัยเรื่องนี้อยู่เขาอาศัยอยู่ในประเทศบัลแก เลีย และได้สังเกตว่าที่ประเทศนี้มีผู้สูงอายุอยู่มาก อีกทั้งผู้สูงอายุเหล่านี้ก็รับประทานโยเกิร์ตเป็นประจำ

จากจุดนี้เองทำให้เข้าใจว่าสาเหตุที่ทำให้ชาวบัลแกเลียมีอายุยืน ก็คงเนื่องมาจากแบคทีเรียกรดนมที่มีอยู่ในโยเกิร์ตช่วยทำลาย หรือควบคุมแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการเน่าเสียขึ้นในลำไส้ จึงได้ประกาศให้ทราบทั่วกันเกี่ยวกับ "ทฤษฎีการมีสุขภาพดี และอายุยืนยาว (The Prolongation of Life)" ในปี ค.ศ. 1907 และต่อมาเขาได้รับรางวัลโนเบลในขณะนั้นทฤษฎีนี้สร้างความตื่นเต้น และเป็นที่น่าสนใจกันมาก ทำให้ผู้คน

ทั่วโลกหันมารับประทานโยเกิร์ตเพื่อสุขภาพกันมากขี้น ถึงเเม้จะมาทราบในภายหลังว่า Lactobacillus Bulgalicus ซึ่งเป็นแบคทีเรียกรดนมชนิดหนึ่งที่พบในโยเกิร์ตนั้นถูกฆ่าตายโดยกรดใน กระเพาะอาหารและน้ำดีจากตับ และไม่สามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้ในลำไส้คนเราได้ ต่อมาทฤษฎีนี้ถูกลืมไปหลังจาก ดร. เอไล แมทชนิคอฟฟ์ ได้เสียชีวิตลงเมื่อเขาอายุ 71 ปี

แต่หลังจากนั้นไม่นาน ในปี ค.ศ. 1930 ดร. มิโนรุ
ชิโรต้า ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเเบคทีเรียกรดนมในลำไส้คนเรา และได้ค้นพบแบคทีเรียกรดนมที่สามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้ในลำไส้คนเรา และเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ทุกคนได้หันมาสนใจถึงประโยชน์ของแบคทีเรียกรดนมจาก เเนวความคิดของ ดร. มิโนรุ ชิโรต้า ที่ว่า "ลำไส้ที่สมบูรณ์แข็งแรงเป็นหนทางสู่การมีอายุยืนยาว" ดังคำกล่าวของเขาที่ว่า "Kencho Choju - Healthy intestine leads to a long life" ดร. มิโนรุ ชิโรต้า ประสบความสำเร็จในการคัดเลือกจุลินทรีย์กรดนมที่มีความสามารถในการทนต่อ สภาวะกรดและด่างที่รุนแรงในร่างกายคนเราได้ และสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในลำไส้ นั่นคือ จุลินทรีย์ชิโรต้า หรือแลคโตบาซิลลัส คาเซอิ สายพันธุ์ชิโรต้า (Lactobacillus Casei Shirota Strain)

ในปี ค.ศ. 1935 ผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวได้ถูกผลิตขึ้น และจำหน่ายเป็นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น โดย ดร. มิโนรุ ชิโรต้า ตั้งชื่อ ผลิตภัณฑ์นี้ว่า "ยาคูลท์" ซึ่งเป็นภาษา Esperanto มีความหมายเช่นเดียวกับโยเกิร์ต แปลว่า มีอายุยืนยาว

ที่มา : http://www.homenayoo.com/yakult/