ไหว้พระขอพรที่จังหวัดสุพรรณบุรี

เขียนโดย 


วันสงกรานต์เป็นเทศกาลสำคัญที่คนไทยถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ และยังเป็นวันหยุดยาวของการทำงาน คนส่วนใหญ่ก็จะใช้ช่วงนี้ไปทำบุญไหว้พระ เพื่อเอาฤกษ์เอาชัยในการดำเนินชีวิตที่ดีในปีต่อไป จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นจังหวัดที่มีวัดวาอารามจำนวนมาก โดยเฉพาะในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งสะดวกต่อการเดินทาง 6 สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนมากราบไหว้ขอพรกันอย่างเนื่องแน่น

1. ไหว้หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ เข้ามาในเขตของวิหารไปบูชาธูปเทียน ดอกไม้ จุดบูชาพระที่ด้านนอกหน้าวิหาร บรรยากาศการเดินทางมาไหว้พระหลวงพ่อโตที่วัดป่าเลไลยก์ก็อย่างที่เห็นในรูป แทบไม่ต้องบรรยายเลยว่ามีประชาชนทั้งใกล้และไกลเดินทางมากราบไหว้หลวงพ่อโต กันอย่างเนืองแน่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวันหยุดต่างๆ หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ เป็นพระพุทธรูปอยู่อิริยาบถประทับนั่งบนก้อนศิลา พระบาททั้งสองวางอยู่บนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายขวาวางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุ มีรูปช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำ และ อีกด้านหนึ่งมีลิงถือรวงผึ้งถวาย

 

 

2. สักการะ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง  เป็นประติมากรรมสลักหินแบบนูนต่ำ เป็นศิลปะแบบขอม อายุประมาณ 1300-1400 ปี มีพระนามว่า พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือ พระนารายณ์สี่กร มีหน้าที่ช่วยเหลือมนุษย์ และเหล่าสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ ประสพแต่ความสุขความเจริญ เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์ เจ้าแม่กวนอิม ตามคำบอกเล่าต่อๆ กันมา เมื่อประมาณ 150 ปีมาแล้ว มีผู้พบพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จมโคลนอยู่ตรงริมศาลเจ้าพ่อ ชาวบ้านจึงช่วยกันอัญเชิญขึ้นข้างบน พร้อมกับสร้างศาลใหม่ให้เป็นที่ประทับ มีคนจีนชื่อ เฮียกง เป็นผู้ดูแลรักษาเรื่อยมา และมีความเชื่อกันว่า หากได้มากราบไหว้แล้ว จะนำมาซึ่งโชคลาภ ความร่ำรวย ความสำเร็จ และความสุขมาให้

 

 

3. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อยู่ถนนสมภารคง แยกจากถนนมาลัยแมนไปประมาณ 300 เมตร เขตตำบลรั้วใหญ่ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี ในสมัยก่อนเป็นศูนย์กลางของเมืองสุพรรณภูมิ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง มีอายุไม่ต่ำกว่า 600 ปี ปรางค์องค์ประธานเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แต่ถูกลักลอบขุดค้นหาทรัพย์สินจนทรุดโทรมไปมาก กรุในองค์พระปรางค์นี้เป็นต้นกำเนิดพระพิมพ์ผงสุพรรณบุรีที่โด่งดังมาก อันเป็นหนึ่งใน “เบญจภาคี” 5 พระเครื่องยอดนิยม นักโบราณคดีหลายท่านให้ความเห็นว่า ปรางค์องค์นี้น่าจะเป็นศิลปะการก่อสร้างสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิ เพราะจากหลักฐานการก่อสร้างองค์ปรางค์เป็นการก่ออิฐไม่ถือปูน ซึ่งเป็นวิธีการเก่าแก่ก่อนสมัยอยุธยา

 

4. วัดพระนอน ตั้งอยู่ตำบลพิหารแดง เลยวัดหน่อพุทธางกูรไปเล็กน้อย วัดพระนอนนี้อยู่ติดกับแม่น้ำท่าจีน สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ภายในวัดมี อุทยานมัจฉา อยู่บริเวณริมน้ำหน้าวัด มีปลานานาชนิดชุกชุม ทั้งปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลาแรด ทางวัดประกาศเป็นเขตอภัยทาน ปลูกต้นไม้ ทั้งไม้ผลและไม้ประดับ บริเวณวัดจึงร่มรื่นสวยงาม และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่ขึ้นหน้าขึ้นตาแห่งหนึ่งของจังหวัด และยังมีวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์สลักจากหิน มีลักษณะแปลกกว่าที่อื่น คือ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในลักษณะนอนหงายขนาดเท่าคนโบราณยาวประมาณ 2 เมตร

5. วัดไผ่โรงวัว เป็นวัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง วัดมีพื้นที่ทั้งหมด 248 ไร่ พื้นที่ของวัดแต่เดิมเป็นดงป่าไผ่ที่ชาวบ้านนำวัวมาผูกไว้ระหว่างทำนา ปัจจุบันภายในวัดมีสิ่งก่อสร้างต่างๆเป็นจำนวนมาก เช่น พระพุทธรูปต่างๆ รูปหล่อพุทธประวัติ พระโพธิสัตว์ พระวิหารร้อยยอด เจดีย์ร้อยยอด สังเวชนียสถานจำลอง เมืองสวรรค์เมืองนรกจำลอง มีพระพุทธโคดม
เป็นพระพุทธรูปโลหะสำริดองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยประดิษฐานประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง  ประชาชนทั่วไปนิยมมากราบไหว้ สังเวชนียสถาน 4 อยู่บริเวณด้านหน้าองค์พระกกุสันโธ ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างซึ่งจำลองจากสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาสี่แห่งใน ประเทศอินเดียและเนปาล ได้แก่ สวนลุมพินีสถานที่ประสูติซึ่งปัจจุบันอยู่ในเนปาล เจดีย์พุทธคยาสถานที่ตรัสรู้ สถูปเมืองสารนาถซึ่งเป็นที่ตั้งของป่าอิสิปตนมฤคทายวันสถานที่แสดงปฐมเทศนา โปรดปัญจวัคคีย์ และกุสินาราสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์

 

6. พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 31 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 322 (สุพรรณบุรี-ดอนเจดีย์) ประกอบด้วย พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระคชาธารออกศึก และ องค์เจดีย์ยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างเจดีย์ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะในสงคราม ยุทธหัตถีที่ทรงมีต่อพระมหาอุปราชาแห่งพม่าเมื่อเดือนมกราคมในปี พ.ศ.2135 และในปี พ.ศ. 2495 กองทัพบกได้บูรณะปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นเจดีย์แบบลังกาทรงกลมใหญ่ สูง 66 เมตร ฐานกว้างด้านละ 36 เมตร ครอบเจดีย์องค์เดิมไว้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเสด็จไปประกอบพิธีบวงสรวงและเปิดพระบรมรา ชานุสรณ์ดอนเจดีย์เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2502 ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 25 มกราคม ของทุกปี

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ วัน, วันที่ เดือน ปี ชม:นาที