ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำหรือภัยแล้ง และปัญหาการเกิดอุทกภัยตามมาอย่างรุนแรงครั้งแล้วครั้งเล่าซึ่งในแต่ละครั้งได้สร้างความเสียหายทั้งชีวิตทรัพย์สินและเศรษฐกิจของประเทศอย่างใหญ่หลวง...
เราทุกคนจึงต้องตระหนักถึงภัยพิบัติดังกล่าว และร่วมมือกันป้องกันแก้ไขด้วยวิธีการที่เหมาะสม เราอาจเคยได้ยินคำพูดที่กล่าวล้อเล่นกันว่า "ประเทศไทยมี 'สองฤดู' คือ ฤดูร้อน กับ ฤดูร้อนมาก" เมื่อพิจารณาให้ลึกซึ้งลงไปในคำกล่าวนี้ ก็จะพบว่าไม่ใช่เป็นเรื่องล้อเล่นแต่อย่างใด ในแต่ละปีเราประสบกับปัญหาภัยแล้งแทบทุกภูมิภาคซึ่งสาเหตุสำคัญสืบเนื่องมาจาก
1) ปริมาณฝนตกน้อยเกินไป เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือการกระจายน้ำฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอตลอดทั้งปี
2) ขาดการวางแผนในการใช้น้ำที่ดี เช่น ไม่จัดเตรียมภาชนะหรืออ่างเก็บน้ำรองรับน้ำฝนที่ตกเพื่อนำไปใช้ในช่วงขาด แคลนน้ำ
3) ลักษณะภูมิประเทศไม่อำนวย จึงทำให้บริเวณนั้นไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่และถาวร จึงทำให้การกักเก็บน้ำไว้ใช้ทำได้ยากเช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
4) พืชพันธุ์ธรรมชาติถูกทำลาย โดยเฉพาะพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารแม้หน่วยงานต่าง ๆ ได้ดำเนินการปลูกป่าในพื้นที่ถูกทำลาย โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารแต่อัตราการปลูกยังน้อยกว่าอัตราการทำลายมาก
5.) การเกิดมลพิษของน้ำ ทำให้ไม่สามารถน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ซึ่งกรณีนี้จะพบอยู่ทั่วไปใน พื้นที่เขตเมืองและย่านอุตสาหกรรมหนาแน่น
ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนต้องหันมาให้ความร่วมมือและช่วยกันรณรงค์ให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการหยุดทำลายป่าต้นน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุการขาดแคลนน้ำหรือภัยแล้ง....
...............................................
ป่าต้นน้ำ เขาถ้ำเสือ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
ขอบคุณภาพจาก..ภาคภูมิ จิตต์โสภณ สถานีวิทยุมะขามขวัญเรดิโอ 1493 ม.6 ต.อู่ทอง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี 72160 โทร. 087-8117890
ขอบคุณภาพจาก..ภาคภูมิ จิตต์โสภณ สถานีวิทยุมะขามขวัญเรดิโอ 1493 ม.6 ต.อู่ทอง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี 72160 โทร. 087-8117890