รู้ก่อนซื้อปลั๊กไฟพ่วง

เขียนโดย 
 
 
เรามีหลักง่ายๆในการเลือกซื้อเพื่อช่วยให้อุ่นใจดังนี้
1. เลือกซื้อปลั๊กไฟสายพ่วงมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)
2. อ่านฉลากว่ามีส่วนประกอบของรางปลั๊กไฟสายพ่วงทั้งเต้าเสียบ เต้ารับ สายไฟ และรางปลั๊กไฟ ผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพ
3. มีสวิตช์เปิด-ปิด เพื่อป้องกันไฟกระชากจากการถอดปลั๊กจากเต้าเสียบ
4. มีฟิวส์ช่วยตัดกระแสไฟฟ้าหากใช้ไฟฟ้าเกินขนาดที่กำหนด
5. สายไฟของชุดสายพ่วงต้องมีฉนวนหุ้ม 2 ชั้น เพื่อความปลอดภัยจากการหักงอหรือถูกของมีคมทำให้สายไฟชำรุด
6. ระบุค่าแรงดันไฟฟ้าที่กำหนดใช้งานได้ระหว่าง 220- 250 โวลต์ ที่เหมาะกับไฟฟ้าในประเทศไทย
7. วัสดุทำรางเต้ารับผลิตจากพลาสติกเอวีซี (AVC) ซึ่งเนื้อพลาสติกจะทนต่อความร้อนได้ดีกว่าพลาสติกพีวีซี (PVC) ลดความเสี่ยงจากเพลิงไหม้กรณีเกิดความร้อนสูง
 
หลักการใช้งานปลั๊กไฟสายพ่วงอย่างถูกวิธี
1. ปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้ากับ ปลั๊กไฟสายพ่วง
2. เมื่อใช้งาน เต้าเสียบและเต้ารับต้องแน่นพอสมควรและไม่หลวมง่าย เพราะหากปลั๊กไฟหลวม
3. แม้จะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ปริมาณไฟฟ้าน้อย ก็สามารถทำให้เกิดความร้อน จนเกิดประกายไฟลุกไหม้ได้เช่นกันควรระวัง
4. ไม่ใช้ปลั๊กไฟสายพ่วงเกินขนาดกระแสไฟฟ้าที่กำหนด โดย หากใช้ปริมาณไฟฟ้ารวมกันเกินขนาดที่ปลั๊กไฟสายพ่วงกำหนด (16 แอมป์ หรือ 2,600 โวลต์) สายไฟจะเกิดความร้อนสูงจนละลาย ทำให้สายทองแดงที่อยู่ภายในสายไฟทั้งสองเส้นแตะกัน ส่งผลให้ไฟฟ้าลัดวงจรและเกิดเพลิงไหม้ได้
5. ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออกจากปลั๊กไฟสายพ่วงทุกครั้งหลังใช้งาน พร้อมถอดเต้าเสียบของสายพ่วงออกจากปลั๊กที่ติดกับผนัง เพื่อตัดกระแสไฟฟ้าและป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
6. ห้ามนำรางปลั๊กไฟสายพ่วงไปติดตั้งแบบถาวร หรือเดินสายไฟปลั๊กพ่วงติดกับผนังห้อง ฝ้าเพดาน ใต้พื้น และใต้พรม เพราะรางปลั๊กไฟถูกออกแบบสำหรับใช้งานชั่วคราว หากติดตั้งแบบถาวรจะชำรุดได้ง่ายและเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร
7. ไม่ใช้ปลั๊กไฟสายพ่วงกับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ ต้องใช้กระแสไฟฟ้าตลอดเวลา เช่น ตู้เย็น เครื่องทำน้ำเย็น เป็นต้น ควรใช้ปลั๊กไฟแบบถาวรที่ติดกับผนัง รวมถึงไม่ใช้รางปลั๊กไฟสายพ่วงต่อพ่วงกันหลายชั้น เพื่อป้องกันสายไฟเกิดความร้อนสูง ทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร ส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้ได้
8. ไม่นำปลั๊กไฟสายพ่วงที่อยู่ในสภาพชำรุดมาใช้งานอย่างเด็ดขาด เช่น ฉนวนหุ้มสายไฟแตก สายไฟมีรอยซ่อมแซมหรือพันด้วยเทป เต้ารับและเต้าเสียบมีรอยไหม้ ขาปลั๊กเต้าเสียบหลอมละลาย เป็นต้น เพราะเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร และเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน
 
ที่มา...http://www.homepro.co.th/knowledge-center/home-guru
ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ วัน, วันที่ เดือน ปี ชม:นาที